การตั้งตำรับและการทดสอบความคงตัวของเจลสมุนไพร จากสารสกัดหยาบของผักเสี้ยนผี

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ศิริสมบัติ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
  • พิชาพัชร์ ฐิติธนอภิพงษ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
  • ดุษฎี ศรีธาตุ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • พงศธร ทองกระสี คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

ผักเสี้ยนผี, สารพฤกษเคมี , เจลสมุนไพร

บทคัดย่อ

ผักเสี้ยนผีเป็นสมุนไพรพื้นบ้านในทางการแพทย์แผนไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งมีการนำมาใช้ในตำรับยา ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตั้งตำรับและทดสอบความคงตัวของเจลสมุนไพรจากสารสกัดหยาบของผักเสี้ยนผี โดยการสกัดสมุนไพรผักเสี้ยนผีแห้งด้วยตัวทำละลายเอทานอล 95% ได้ร้อยละของสารสกัดเฉลี่ยเท่ากับ 3.12±0.19 ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ขององค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหยาบด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟีแมสสเปกโตรเมทรี พบสารสำคัญที่อาจเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้ อีเทน, ฟลูออโร-, ไฮดรอกซีลามีน, โอ-เมทิล-, ไฮดราซีน, เมทิล-, ฟอร์มาไมด์, N-เมทอกซี-, 2-โพรพานอล, 2-เมทิล-, ไซเลน, ไตรเอทิลฟลูออโร-, ไดเอทอกซีเมทิลอะซิเตท, กรดโพรพาโนอิก 2-ไฮดรอกซี- เอทิลเอสเทอร์, โดเดเคน, ไซโคลเฮปทาซิล็อกเซน, เตตราเดคาเมทิล-,  2,4-ได-เติร์ต-บิวทิลฟีนอล, บิวทิเลตไฮดรอกซีโทลูอีน, ไซโคลออคตาซิลอกเซน, เฮกซาเดคาเมทิล- ไซโคลโนนาซิล็อกเซน, ออคทาเดคาเมทิล-, เฮปตะดีเคน, ไอโซโพรพิลไมริสเตท, ลิโดเคน, อิโคเซน ตั้งตำรับทั้งหมด 4 ตำรับ โดยใช้สารสกัด 0, 1, 2 และ 4 % โดยมวล พบว่าตำรับเจลสมุนไพร มีความที่เป็นเนื้อเดียวกันดี เจลสมุนไพรทุกตำรับมีค่าความเป็นกรด - ด่างที่ดีเหมาะกับสภาพผิว การพิจารณาลักษณะสีของตำรับเจลสมุนไพร พบว่า สีของสมุนไพรมีความเข้มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเจลเบส โดยเมื่อมีการเพิ่มปริมาณร้อยละโดยมวลของสารสกัดจะแสดงลักษณะสีที่เข้มขึ้น และตำรับเจลสมุนไพรทั้ง 4 ตำรับ แสดงลักษณะของความคงตัวที่ดีของสี เมื่อพิจารณาจากค่า a*, b* และ L* การพิจารณาลักษณะความสามารถในการกระจายตัว พบว่าตำรับเจลสมุนไพรทั้ง 4 ตำรับ แสดงลักษณะการกระจายตัวที่ไม่คงที่ จากการทดลองจึงได้ลักษณะที่เหมาะสมของเจลสมุนไพรจากสารสกัดหยาบของผักเสี้ยนผี คือ ตำรับที่ 1% และ 4% ซึ่งเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการตั้งตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อการยกระดับและการใช้ประโยชน์ที่สะดวก อีกทั้งเพื่อเป็นต้นแบบการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรให้มากยิ่งขึ้น

 

 

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2564). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. http://dmsic.moph.go.th/index/detail/69.

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2558). การผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลจากสมุนไพรในบัญชียาหลัก แห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด: นนทบุรี.

ตำรายาไทย. (2557). ผักเสี้ยนผีผักซึ่งมีสรรพคุณทางยา. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564. https://hd.co.th/wild-spider-flower.

วราวุธ เสริมสินสิริ. (2558). Med and Herb. พิมพ์ครั้งที่ 5. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด: นนทบุรี.

วิภาดา อ่อนจิตร และอัจฉรา ใจดี. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวด้วยสารสกัดฟีนอลจากเปลือกกล้วยไข่. รายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1. 882-888

อิสรีย์ จิตต์สมนึก และดวงพร นะคาพันธุ์ชัย. (2564). ประสิทธิผลของไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผีในการลดภาวะสิวอักเสบ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 14(3): 111-124.

อิสรีย์ จิตต์สมนึก และดวงพร นะคาพันธุ์ชัย. (2563). ฤทธิ์การต้านเชื้อ Propionibacterium acnes ของสารสกัดผักเสี้ยนผี. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ ๓ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”. 1-7.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ผักเสี้ยนผี. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565. https://th.wikipedia.org/wiki/ผักเสี้ยนผี.

Arun P. and Varsha J. (2014). GC-MS Analysis of Bioactive Components from Methanol Leaf Extract of Toddalia asiatica. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences. 29(1): 18-20.

Benedetta M., Giuseppe D., Demetrio R., Salvatore P., Luca M. and Vincenza M. (1994). Antonina Caruso Synthesis and pharmacological study of ethyl 1 methyl – 5 - [2 substituted – 4 - oxo-3(4H) - quinazolinyl] – 1 H – pyrazole – 4 -tates. European Journal of Medicinal Chemistry. 9: 707-711.

Ceylan Y., Ustab K., Ustab A., Maltasc E. and Yildz S. (2015). Evaluation of AntioxidantActivity, Phytochemicals and ESR Analysis of Lavandula Stoechas. Journal of Acta Physica Polonica. 128(2): 483-487.

Chrysanthi C., Evdokia P., Stelios Y. and Agapios A. (2019). GC–MS analysis of D - pinitol in carob: Syrup and fruit. The Journal of Chromatography. 16: 60-64.

Guven O., Karabay NU., Dalay MC. and Baris P. (2004). Antibacterial Activity of Volatile Component and Various Extracts of Spirulina Platensis. Journal Article. 18: 754-757.

Khalid AH. and Jin HJ. (2017). Chemical composition of neem and lavender essential oils and their antifungal activity against pathogenic fungi causing ginseng root rot. African Journal of Biotechnology. 16(52): 2349-2354.

Linda PD., Matthew BJ., Guangrong Z. and Nichole MN. (2007). Discovery of a novel nicotinic receptor antagonist for the treatment of nicotine addiction: 1 - (3-Picolinium) - 12 triethylammonium - dodecane dibromide. Journal of Biochemical Pharmacology. 74(8): 1271-1282.

Lukita P., Putut HR. and Slamet B. (2021). Phytochemical Analysis and Antibacterial Activities of Sidr Leaf Extract against Pathogenic Bacteria in Aquaculture. Journal of Tropical Agricultural Science. 44(4): 845-864.

Misal G., Dixit G. and Gulkari V. (2012). Formulation and evaluation of herb gel. Indian Journal of Natural Products and Resources. 3: 501-505.

Mi-Ae Y., Jeong TS., Park DS., Xu MZ., Oh HW. and Song KB. (2006). Antioxidant Effects of Quinoline Alkaloids and 2, 4 – Di – tert - butylphenol Isolated from Scolopendra subspinipes. Journal of Biological and Pharmaceutical Bulletin. 29(4): 75-79.

Mohammad H., Sharmila D., Poovarasan A., Pradeep E., Tanmoy S. and Mudiganti R. (2019). The GC MS Study of one Ayurvedic Medicine. Research Journal of Pharmacy and Technology. 12: 535-40.

Prasanna G. and Chitra M. (2015). Phytochemical screening and GC-MS Analysis of Rhizome of Drynaria quercifolia. American Journal of Advanced Drug Delivery. 5: 72-78.

Ravi KV., Kamakshi D., Praveen KY., Vinoda RM., Rajender R. and Mallepally A. (2018). Studies on the DNA binding and anticancer activity of Ru (II) polypyridyl complexes by using a (2 - (4 -(diethoxymethyl) – 1 H – imidazo [4,5-f] [1,10] phenanthroline) intercalative ligand. New Journal of Chemistry. 2: 1-8.

Sharmila S. (2019). GC-MS Analysis of Bio-active Components in Petroleum Ether Extract of Lepidagathis scariosa (Nees.) – Acanthacea. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research. 54(1): 56-63.

Taswar A., Jianguang C., Xiuxiang Z., Muhammad I. and Yuanhua W. (2017). Extraction and identification of bioactive compounds (eicosane and dibutyl phthalate) produced by Streptomyces strain KX852460 for the biological control of Rhizoctonia solani AG-3 strain KX852461 to control target spot disease in tobacco leaf. US National Library of Medicine National Institutes of Health Search database. 7(1): 54.

Ya LS., Xiao C. and Wen MX. (2013). Synthesis and crystal structures of N, N'-bis (5-fluoro-2- hydroxybenzylidene) ethane-1, 2-diamine and its dinuclear manganese (III) complex with antibacterial activities. Journal of Coordination Chemistry. 10: 1-10.

Yan L., Erxian Z., Li L. and Liying B. (2021). Physicochemical And pharmacological investigations of

Polyvinylpyrrolidone tetrahydroxyborate hydrogel containing the local anesthetic lidocaine. Journal of Molecular Liquids. 10: 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022