ความสัมพันธ์ของพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์: อัตราการกำจัดยาฟีนัยโตอินและวาลโปรเอท
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันมีการรักษาอาการชักและอาการทางการควบคุมอารมณ์โดยการใช้ฟีนัยโตอินร่วมกับวาลโปรเอทมากขึ้นในผู้ป่วยจิตประสาท ยาทั้งสองชนิดมีการกำจัดผ่านตับเป็นหลักและยามีการจับกับโปรตีนในเลือดสูง ดังนั้น พารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาทั้งสองชนิดอาจมีความสัมพันธ์กัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการกำจัดยากันชักในผู้ป่วยจิตประสาทที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ที่ใช้ยากันชักร่วมกัน 2 ชนิด คือ อัตราการกำจัดยาของฟีนัยโตอิน (Vmax, phen) กับวาลโปรเอท (ClVPA) วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูลระดับยาในเลือดและประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยย้อนหลัง (retrospective study) ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2555 พบกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาร่วมกันทั้งสองชนิดและมีรายงานค่าระดับยาจำนวน 14 รายที่ถูกคัดเลือกเข้าการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทุกรายมีระดับยาที่ถึงสภาวะคงที่ (steady state) และไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดยานานกว่า 1 เดือนก่อนหน้ารายงานผลค่าระดับยา การเก็บตัวอย่างเลือดจะดำเนินการช่วงเช้าก่อนการให้ยามื้อถัดไป และนำไปวิเคราะห์ระดับยาในเลือด โดยวิธีการ Turbidimetric Inhibition Immunoassay Method (Synchron CX® Systems Beckman Coulter,Inc) นำผลระดับยาที่ได้มาคำนวณค่าทางเภสัชจลนศาสตร์และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ต่อไปโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์อย่างง่าย ผลการวิจัย: พบอัตราการกำจัดยาของฟีนัยโตอิน (Vmax, phen) มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายอัตราการกำจัดยาของวาลโปรเอท (ClVPA) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.726, p-value= 0.003) ทำให้สามารถทำนาย ClVPA จาก Vmax, phen ผ่านสมการอย่างง่ายได้ และสามารถทำนาย Vmax, phen จาก ClVPAได้เช่นกัน สรุปผล: ณ สภาวะคงที่ของระดับยาฟีนัยโตอินและวาลโปรเอทที่ใช้ร่วมกัน พบอัตราการกำจัดยาของยาทั้งสองมีความสัมพันธ์กันและสามารถใช้ทำนายอัตราการกำจัดอีกชนิดได้ เมื่อทราบอัตราการกำจัดยาของยาชนิดใดชนิดหนึ่ง
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included