ผลของสาร cycloalliin ต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาว
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: พืชตระกูล Allium เช่น หอมหัวใหญ่และกระเทียมเป็นพืชที่ใช้ในครัวเรือน และเป็นสมุนไพรทางการแพทย์ มีฤทธิ์ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ส่วนสาร cycloalliin เป็นสารประกอบหลักในกลุ่มซัลเฟอร์ พบในพืชทั้ง 2 ชนิด จากการศึกษาที่ผ่านมาสาร cycloalliin มีฤทธิ์ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดหนูขาวได้ กระบวนการสลายไขมันมีบทบาทสำคัญในการควบคุมเมตาบอลิซึมของน้ำตาลและไขมันในร่างกาย การศึกษานี้จึงศึกษาผลของสาร cycloalliin ต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันของหนูขาว วัสดุและวิธีการทดลอง: หนูขาวเพศผู้ 16 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน คือ กลุ่มอาหารปกติ (NPD) และกลุ่มอาหารไขมันสูง (HFD) เลี้ยงนาน 3 สัปดาห์ จากนั้นนำเซลล์ไขมันจาก epididymal fat pads ของหนูในแต่ละกลุ่มทดสอบกับสาร cycloalliin ที่ความเข้มข้นต่างๆ ในสภาวะเซลล์ปกติ (basal lipolysis) หรือในสภาวะ isoprenaline (0.1µM; ISO-induced lipolysis) ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงที่ 37 oC และหาการสลายไขมันด้วยการวัดกรดไขมัน (FFAs) ที่เกิดขึ้นในสารละลาย โดยใช้ชุดทดสอบ ผลการศึกษา: ที่สภาวะ ISO-induced lipolysis เซลล์ไขมันกลุ่ม NPD สาร cycloalliin ที่ 1, 10 และ 100 µM มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n=5) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยระดับ FFAs = 581.47±67.79, 575.3±28.95 และ 555.77±45.53 µM/mL PCV/hr ตามลำดับ แต่สาร cycloalliin ไม่มีผลในกลุ่ม HFD อีกทั้งไม่มีผลที่สภาวะ basal lipolysis ทั้งในเซลล์ไขมันที่ได้รับ NPD และ HFD สรุปผล: ที่สภาวะ ISO-induced lipolysis สาร cycloalliin สามารถยับยั้งการสลายไขมันในเซลล์ไขมันกลุ่ม NPD ซึ่งผลของสาร cycloalliin ในการควบคุมการสลายไขมันนี้อาจมีความสัมพันธ์ในการเกิดฤทธิ์รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included