การไม่มารับบริการในสถานพยาบาลหลักของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Main Article Content

ทิพวรรณ สิมสินธุ์
ธัญลักษณ์ จงมีศิลป์
สุทธิพร มิ่งชัย
สุพัตรา นามวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สาคัญของประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อรักษาหรือควบคุมอาการอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการไม่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของสถานพยาบาลหลัก ผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วัสดุและวิธีการทดลอง: ศึกษาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ไปรับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลที่ตนมีสิทธิอยู่ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนในช่วงวันที่ 1 เมษายน ถึง 1 ตุลาคม 2554 โดยการสืบค้นข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และแบบสอบถามสัมภาษณ์โดยใช้คาถามปลายเปิด โดยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าจากจานวนผู้ป่วยที่นัดทั้งหมด 2,264 ราย มีผู้ป่วย 92 รายที่ไม่มารับบริการ ร้อยละ 4.1 ซึ่งสามารถติดตามสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่บ้านได้ 50 ราย พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจานวน 16 ราย ร้อยละ 37.5 ไปรับยาที่คลินิก เนื่องจากมีความสะดวก ไม่ต้องรอนาน ร้อยละ 62.5 ยังควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.8 ไม่มีเวลาว่างไปรับบริการ และทุกรายยังควบคุมระดับน้าตาลไม่ได้ตามเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคหืด 10 ราย และปอดอุดกั้นเรื้อรัง 7 ราย ร้อยละ 60 และร้อยละ 42.8 คิดว่าตนเองหายแล้ว โดยทุกรายไม่มีอาการหอบเหนื่อยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคจิตเภท 9 ราย ร้อยละ 44.4 ไม่มีญาติพาไปรับยาและร้อยละ 66.6 ไม่สามารถควบคุมอาการได้โดยยังมีอาการหูแว่ว พูดคนเดียว และอาละวาดอยู่เป็นระยะ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ติดตามมี 1 ราย ไม่ไปรับการรักษาเพราะไม่ว่าง ติดธุระ และผู้ป่วยไม่มีอาการของโรค ในด้านผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายมีเพียงร้อยละ 6 ที่ได้รับผลกระทบเนื่อง จากมีรายได้น้อยสรุปผล: สาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยไม่ไปรับบริการในสถานพยาบาลหลักคือ คิดว่าตัวเองหายแล้ว หลังจากผู้วิจัยได้แนะนาให้ผู้ป่วยไปรับการรักษา พบว่าร้อยละ 46 กลับไปรับบริการที่สถานพยาบาลหลัก จากงานวิจัยนี้บุคลากรทางการแพทย์ควรสร้างความเข้าใจและความตระหนักต่อโรคในผู้ป่วยโรคให้มากขึ้น

Article Details

Section
Appendix