ผลของการดูแลคุณภาพการใช้ยาโดยเภสัชกร ในร้านยาคุณภาพ

Main Article Content

ธาริตา ขจรจรัสกุล
นุชจนา คำโสภา
ภูวดล วาทโยธา
อภิรักษ์ ทักษิณ
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
พยอม สุขเอนกนันท์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบจำนวนปัญหาและจำนวนผู้ที่พบปัญหาจากการใช้ยา ความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ยา ระหว่างกลุ่มควบคุม (บริการปกติ) และกลุ่มทดลอง (เพิ่มการดูแลคุณภาพการใช้ยา โดยให้คำแนะนำปรึกษาและปฏิทินยา)  วิธีวิจัย: มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 138 คน เข้ารับบริการในร้านยาคุณภาพจำนวน 4 แห่งแบ่งโดยการสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 68 คน และกลุ่มควบคุม 70 คน โดยมีการพบเภสัชกร 2 ครั้ง เพื่อค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา สำรวจความพึงพอใจ และความคิดเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับปฏิทินยา การให้คำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกร และติดตามการดูแลคุณภาพการใช้ยาทางโทรศัพท์  ผลการศึกษา: หลังการรับบริการโดยเภสัชกรกลุ่มทดลอง (-0.6±0.09) มีจำนวนปัญหาจากการใช้ยาเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (-0.1±0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  ปัญหาการใช้ยาที่ลดลงมากที่สุด สำหรับผู้รับบริการกลุ่มทดลอง คือ ปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา (จากร้อยละ 68.4 เป็นร้อยละ 13.2, p < 0.001)  กลุ่มทดลองมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมการศึกษา มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้ง 15 ข้อ ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมการศึกษามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 14 ข้อ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมการศึกษามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p<0.001 ตามลำดับ)  สรุปผล: การดูแลคุณภาพการใช้ยาโดยเภสัชกรในร้านยาคุณภาพทำให้ลดปัญหาจากการใช้ยา และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ยา โดยเน้นการให้คำแนะปรึกษาด้านยา และการติดตามดูแลการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปฏิทินยาสามารถใช้เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Article Details

Section
Appendix