ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ณ ร้านยาคุณภาพเขตจังหวัดมหาสารคาม และการส่งต่อคลินิกบ้านร่มเย็น โรงพยาบาลมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ:โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในร้านยา รวมทั้งปัญหาโรคเอดส์ ยังเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขไทยเภสัชกรร้านยาจึงมีบทบาทต่อชุมชนเพราะเป็นสถานบริการด่านหน้าในการให้บริการยา เป็นแหล่งให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และให้คำแนะนำเบื้องต้น วิธีวิจัย: ศึกษาผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมได้แก่ การให้ความรู้ การรักษาโรคและการติดตามผล การติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ความร่วมมือในการใช้ยา การกลับเป็นซ้ำ และการปรับพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในร้านยาคุณภาพเขตจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ร้านยามหาวิทยาลัยสาขา 1 สาขา 2 สาขา 3 และร้านยาเภสัชกรชูศักดิ์ และการส่งต่อไปยังคลินิกบ้านร่มเย็น โรงพยาบาลมหาสารคามตามแนวทางการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2553 โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็น Quasi-Experimental study ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 39 คน และ 4 คนถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาสารคามพบว่าอาการเข้าได้กับโรคเชื้อราช่องคลอด 19 คน (ร้อยละ 48.7) โรคพยาธิช่องคลอด 8 คน (ร้อยละ 20.5) โรคแบคทีเรียช่องคลอด 7 คน (ร้อยละ 17.9) โรคหนองใน/หนองในเทียม 3 คน (ร้อยละ 7.7) และโรคหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุกอย่างละ 1 คน (ร้อยละ 2.6) โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อจำนวน 4 คน เป็นโรคหูดหงอนไก่และหูดข้าวสุกอย่างละ 1 ราย และอีก 2 รายต้องการตรวจเลือดเพิ่มเติม ในการติดตามครั้งที่ 1 (วันที่ 7) มีอัตราการรักษาหายร้อยละ 79.5 และครั้งที่ 2 (วันที่ 14 หรือ เดือนที่ 3) มีอัตราการรักษาหายร้อยละ 86.1 หลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.18±2.61 และ 14.23±1.06, p <0.001) จากการติดตามมีการกลับเป็นซ้ำ 5 คน (ร้อยละ 13.9) และโรคเชื้อราในช่องคลอดมีการกลับเป็นซ้ำมากที่สุด (ร้อยละ 17.6) และพบว่าปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยและไม่รักษาคู่นอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากที่สุดด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ การรักษาและบริการที่ได้รับร้อยละ 48.7 สรุปผล: การให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สามารถเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการรับหรือแพร่เชื้อ รวมถึงสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงและการกลับเป็นซ้ำ และทำให้เกิดความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการในร้านยา
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included