การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

Main Article Content

ดุษฎลภ์ ศิริศักดิ์รัชกุล
จิตศรา แสนเรียน
วรรณนิภา ศิริกัณรัตน์
วราภรณ์ พิมพล
พีรยา สมสะอาด
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
พรชนก ศรีมงคล

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: ในปัจจุบันผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี  ก็ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญอยู่  และผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์  การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก  อาจมีปัญหาการให้ความรู้ ซึ่งการให้คำปรึกษาด้วยคำพูดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการรับรู้และจดจำได้  วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียวทดสอบเปรียบเทียบแบบก่อนและหลังในผู้ป่วยเด็กทั้งที่ได้รับกาเปิดเผย  และไม่เปิดเผยว่าติดเชื้อเอชไอวี อายุ  8-15 ปี ที่เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 44 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 45.5 เพศหญิง ร้อยละ 54.5 หลังจากให้ความรู้  พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจหลังรับชมแอนิเมชันเพิ่มขึ้นจากก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean±SD:8.59±1.76 คะแนน, 10.63±1.98 คะแนน, P<0.001) เมื่อแบ่งเป็นสองกลุ่มอายุ พบว่าทั้งกลุ่มอายุ  8 – 12 ปี และ 13 – 15 ปี ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้หลังรับชมแอนิเมชันเพิ่มขึ้นจากก่อนให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) แต่คะแนนความรู้ก่อนและหลังชมแอนิเมชั่นระหว่างทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจหลังการได้รับชมแอนิเมชั่นของผู้ป่วย ผู้ปกครอง และบุคลากรการแพทย์นั้น พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยทั้งผู้ป่วยและผู้ปกครองพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอของสื่อมากที่สุด ส่วนบุคลากรการแพทย์พึงพอใจมากที่สุดในการดำเนินเรื่องที่เป็นลำดับขั้นตอน สรุปผล: การใช้สื่อแอนิเมชั่นเป็นอีกทางเลือกที่จะนำไปใช้เพิ่มความรู้ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลได้

Article Details

Section
Appendix