การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและการสกัดโปรตีน จากใบมันสำปะหลัง

Main Article Content

ภัทราวรรณ รถเพ็ชร
ธนิสร์ ปทุมานนท์
นาฏศจี นวลแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: ใบมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz, Euphorbiaceae) ประกอบด้วยโปรตีนปริมาณสูง และสารกลุ่มอื่น ได้แก่ ไซยาโนจีนิกไกลโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ เทอร์ปินอยด์ และคูมาริน (Blagbrough et al, 2010) ประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งที่มีการปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในขอนแก่น ได้แก่ พันธุ์ระยอง 9 ห้วยบง 60 และมัน 5 นาที ซึ่งยังไม่มีการกำหนดเอกลักษณ์และการแยกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์เหล่านี้ในระดับโมเลกุล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) และสกัดโปรตีนซึ่งมีปริมาณมากในใบมันสำปะหลัง เพื่อนำมาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา วัสดุและวิธีการทดลอง: เก็บใบมันสำปะหลัง 3 สายพันธุ์ จากศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น อ. เมือง จ. ขอนแก่น ทำการสกัด DNA ด้วยน้ำยาสกัด DNA (DNAzol) จากนั้นศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ด้วยเทคนิค RAPD (random amplification of polymorphic DNA) โดยใช้ไพร์เมอร์ ชุด OPA (Operon Technology) ตรวจสอบชิ้น DNA ที่ได้ด้วย agarose gel electrophoresis ในส่วนของการแยกสกัดโปรตีน ใช้ส่วนยอดและใบที่ถัดจากยอดลงมาไม่เกิน 5 ใบ มาสกัดใน 50 mM โซเดียมฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 7.0 และหาปริมาณโปรตีนด้วยวิธีแบรดฟอร์ด ผลการศึกษา: การใช้ไพร์เมอร์ชนิด OPA สามารถให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint)ได้ และจากการหาปริมาณโปรตีนเปรียบเทียบ 3 สายพันธุ์ พบว่ามีปริมาณโปรตีนใกล้เคียงกัน สรุปผล: ได้ชุดของไพร์เมอร์ที่จะนำไปกำหนดลายพิมพ์ดีเอ็นเอของใบมันสำปะหลัง 3 สายพันธุ์ เพื่อการแยกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ต่อไป และสารสกัดโปรตีนของใบมันสำปะหลังที่ได้ จะนำไปศึกษาฤทธิ์ทางชีววิทยาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่อไป

Article Details

Section
Appendix