การประเมินรูปแบบการใช้ยาบรรเทาอาการปวดและเสริมบรรเทาปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ณ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
วัชรินทร์ พากฏิพัทธ์
จิรนัติ พลเจียก
สุรีย์พร งิ้วพรหม
อาภามาศ โคตรแสนลี
ณัฐมลพรรณ สุชินศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: ภาวะปวดเรื้อรังเป็นความรู้สึกที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งส่งผลทั้งด้านกายภาพ จิตใจและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม  ยังขาดข้อมูลด้านรูปแบบการใช้ยาซึ่งสะท้อนภาพรวมของการใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด (Analgesics) และยาเสริมบรรเทาปวด (Adjuvant drugs)   วัตถุประสงค์: ศึกษารูปแบบและปัญหาการใช้ยาบรรเทาอาการปวดและยาเสริมบรรเทาปวด รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกับปัญหาการใช้ยาและข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม  วิธีการ: ทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Descriptive Study) ในช่วงปีงบประมาณ 2552-2554 (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน 2554) ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลจากข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และได้รับยาชนิดรับประทานอย่างน้อยหนึ่งชนิดในกลุ่ม พาราเซตามอล NSAIDs, opioids และ/หรือ ยาในกลุ่ม Antidepressant, Anticonvulsant และ Benzodiazepines โดยใช้เกณฑ์ของ The Pharmaceutical Care Network Europe Classification V 6.2 (2010) ในการประเมินปัญหาการใช้ยาและสาเหตุ   ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยมี่ศึกษาทั้งหมด 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (76.3%) อายุเฉลี่ย 62 ปี รูปแบบยาที่มีการสั่งใช้มากที่สุดคือ ยาพาราเซตามอล เดี่ยว (9.74%) รองลงมาคือ Muscol® +Topical NSAIDs (8.72%) และ Topical NSAIDs เดี่ยว (7.69%) ตามลำดับ ส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาการใช้ยา (58.46%) ส่วนแนวโน้มการเกิดปัญหาการใช้ยา (45.54%) ที่พบ มากที่สุด ได้แก่ ผลการรักษาจากยาไม่พอ (46.91%) รองลงมา คืออาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นผลข้างเคียง (32.10%) สาเหตุของแนวโน้มปัญหาการใช้ยาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ขนาดยาที่ต่ำเกินไป (25.85%) รองลงมา คือ ช่วงระยะเวลาการให้ยาห่างเกินไป (23.90%) และพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปัญหาการใช้ยาและอายุ (r= 0.15, p=0.041) สรุปผล: จากผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจภาพรวมของรูปแบบการใช้ยา ปัญหาการใช้ยาและสาเหตุของทั้งยากลุ่มบรรเทาอาการปวดและยาเสริมบรรเทาปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ซึ่งนำไปสู่แนวทางในการพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมต่อไป

Article Details

Section
Appendix