การศึกษามูลค่ายาและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการหาสาเหตุพร้อมทั้งแนวทางแก้ปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง : กรณีศึกษา ชุมชนบ้าน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: ยาเหลือใช้เป็นปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงส่งผลต่อเศรษฐกิจและอันตรายต่อผู้ใช้ยา การศึกษานี้จึงต้องเพื่อหาสาเหตุ มูลค่า และแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้
วิธีวิจัย: มี 2 ระยะ 1) วิจัยเชิงสำรวจมูลค่าและปัญหายาเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 62 คน 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ จากการมีส่วนร่วมในชุมชนจำนวน 18 คน ดำเนินวิจัยทั้ง 2 ระยะเป็นเวลา 1 เดือนในชุมชนบ้านมะกอก มหาสารคาม
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยมียาเหลือใช้ 17 คน (ร้อยละ 27.4) ยาเหลือใช้ที่พบมากที่สุดคือ Metformin 500 mg โดยมูลค่ายาเหลือใช้ในระยะเวลา 1 เดือนเป็น 3,005.30 บาท การประเมินความรู้เรื่องยาเหลือใช้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้ระดับดี ผู้ป่วยร้อยละ 67.7 คิดว่าตนเองไม่มีปัญหาเรื่องยาเหลือใช้ ผู้ป่วยคิดว่าสาเหตุยาเหลือใช้มาจากการรับประทานไม่ครบตามแพทย์สั่ง ผลการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่าสาเหตุของยาเหลือใช้ในระดับบุคคล เช่น การลืมรับประทาน และสาเหตุของยาเหลือใช้จากระดับหน่วยงาน เช่นสถานพยาบาลจ่ายยาให้ผู้ป่วยเกินวันนัด แนวทางการจัดการยาเหลือใช้ระดับบุคคลคือ ผู้ป่วยควรส่งคืนยาเหลือใช้ให้สถานพยาบาล รับประทานยาเดิมให้หมด ก่อนใช้ยานัดครั้งใหม่ และเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา ผู้ป่วยเสนอให้เขียนป้ายเตือนตนเองว่า “อย่าลืมกินยา” ติดที่เห็นชัดเจนเช่น บนฝากระติ๊บข้าว วิธีการจัดการยาเหลือใช้ระดับหน่วยงาน คือ บุคลากรทางการแพทย์ควรรับยาเหลือใช้มาพิจารณาแยกคุณภาพของยา กรณีที่ยายังมีคุณภาพควรนำไปใช้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต่อไป
สรุปผลการศึกษา : สาเหตุของยาเหลือใช้หลัก มาจากรับประทานยาไม่ครบตามแพทย์สั่ง แนวทางการแก้ปัญหายาเหลือใช้ที่ชุมชนเลือกคือ เขียนป้ายเตือนตนเองว่า “อย่าลืมกินยา”
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included