บทบาทคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดและนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: การศึกษาบทบาทคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) และนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อบทบาท PTC ความคิดเห็นต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ และรวบรวมแนวทางในมุมมองบุคลากรทางการแพทย์ในการพัฒนานโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ
วิธีการทดลอง: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) เก็บข้อมูล 7 เดือน ระหว่างสิงหาคม 2554 ถึง กุมภาพันธ์ 2555 โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึกของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ทั้งหมด 113 คน และ 27 คน ตามลำดับ โดยมีอัตราตอบกลับร้อยละ 91.13
ผลการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์ร้อยละ 63.71 รู้จัก PTC ร้อยละ 56.60 รับรู้ว่า PTC มีบทบาทในการคัดเลือกยาและการจัดการด้านยา และร้อยละ 57.50 คิดเห็นว่า PTC มีหน้าที่ในการควบคุมให้มียาใช้อย่างเพียงพอและเกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จากการสัมภาษณ์พบว่า PTC ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีจุดแข็ง เช่น มีบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ PTC ความคิดเห็นต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบพบว่า ร้อยละ 97.35 เห็นด้วยกับนโยบาย โดยร้อยละ 76.10 ต้องการข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ายาสามัญให้ผลการรักษาเท่าเทียมกับยาต้นแบบ โดยให้คะแนนประโยชน์ของการสั่งใช้ยาด้วยชื่อสามัญทางยา เฉลี่ย 78.06±12.60 คะแนน (เต็ม 100 คะแนน) แม้จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบ ยาต้านจุลชีพและยากันชักเป็นยาที่บุคลากรทางการแพทย์เสนอควรพิจารณาก่อนทดแทนยาต้นแบบด้วยยาชื่อสามัญ และแนวทางในการพัฒนานโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบที่เห็นว่าเหมาะสม คือ การรณรงค์และส่งเสริมให้เขียนชื่อยาเป็นชื่อสามัญในใบสั่งยา ร้อยละ 61.90
สรุปผล: PTC ของโรงพยาบาลร้อยเอ็ด บทบาทและหน้าที่ในมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อนโยบายการใช้ยาสามัญทดแทนยาต้นแบบภายใต้การมีข้อมูลเชิงประจักษ์ผลการรักษาเทียบเท่าที่ชัดเจนและได้เสนอแนวทางการพัฒนานโยบายของ PTC ที่เหมาะสมกับโรงพยาบาล
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included