ผลของการให้คำแนะนำและติดตามเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักในนิสิตเภสัชศาสตร์

Main Article Content

กรองกาญจน์ พันธ์ศิริ
ปิยานุช กลับกลาง
ภาณุมาศ ดวงจันทร์โชติ
อัชณา ทองกุล
วิระพล ภิมาลย์
วัชรินทร์ พากฏิพัทธ์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: โรคอ้วน เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในเด็กและวัยผู้ใหญ่ ในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิสิตเภสัชศาสตร์ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในอนาคต


วัสดุและวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Randomized Controlled Trial) เพื่อศึกษาผลการให้คำแนะนำปรึกษาและติดตามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักในนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีน้ำหนักเกินและมีภาวะอ้วน ระหว่างวันที่ มิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ.2554 โดยกลุ่มทดลองจะได้รับคำแนะนำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักซึ่งประกอบด้วย การให้ข้อมูลความรู้เรื่องการควบคุมน้ำหนักทางแผ่นพลิก Facebook คู่มือตารางแสดงพลังงานและคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร การบันทึกกิจกรรมและอาหารที่รับประทานในแต่ละวันและ CD เรื่องอาหารกับปริมาณแคลอรีกับการอ่านฉลากโภชนาการ ผลลัพธ์ที่ประเมิน คือ การเปลี่ยนแปลงของความรู้เรื่องอาหารกับการควบคุมน้ำหนัก ตัวแปรตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior; TPB) น้ำหนักตัว และดัชนีมวลกาย หลังจากนั้นทำการติดตามผลในเวลา 2 เดือน


ผลการศึกษา : มีผู้เข้าร่วมการศึกษา 64 ราย เป็นนิสิตเภสัชศาสตร์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน กลุ่มทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ความตั้งใจในการควบคุมอาหาร การรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก และความเชื่อในบรรทัดฐานของสังคมในการควบคุมอาหารมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องโรคอ้วนกับการควบคุมน้ำหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.174) และหลังการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีการลดลงของน้ำหนักตัว และดรรชนีมวลกายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)


สรุปผล : ผลการให้คำแนะนำและติดตามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักในนิสิตเภสัชศาสตร์ สามารถลดน้ำหนักและดรรชนีมวลกายได้ อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามศึกษากลุ่มเป้าหมายในระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ตาม NHLBI Obesity Education Initiative

Article Details

Section
Appendix