การวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคท้องร่วงเฉียบพลันและโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก

Main Article Content

ประภัสสร แสนปาง
พรทิพา กำจัดภัย
ประภัสรา ประภาสอน
อรอนงค์ วลีขจรเลิศ
ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ : ปัจจุบันมีปัญหาการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และศึกษาข้อมูลอัตราการสั่งใช้ยากลุ่ม Quinolone ชนิดรับประทานในผู้ป่วยท้องร่วงเฉียบพลัน


วิธีการทดลอง : ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 18 แฟ้มมาตรฐานของผู้ป่วยนอก จากโรงพยาบาล 11 แห่ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และ 2554  วิเคราะห์โดยใช้โปรมแกรม SQL


ผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์เป็นรายไตรมาสพบว่า โรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีค่าแตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 14.7 ถึง 77.81 และผลการวิเคราะห์เป็นรายปีพบว่า โรงพยาบาล 10 แห่งมีการสั่งใช้ยามากกว่าร้อยละ 30  มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 32.61 ถึง 80.14  การวิเคราะห์ร้อยละของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยหวัด รหัส J00 มีความแตกต่างกันตั้งแต่ร้อยละ 7.64 ถึง 82.14 มีโรงพยาบาล 3 แห่ง (โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง) มีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานในผู้ป่วยหวัดมากกว่าร้อยละ 30  และการวิเคราะห์ร้อยละของการสั่งใช้ยา Quinolone ชนิดรับประทานในผู้ป่วยท้องร่วงเฉียบพลันพบว่าโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง มีการสั่งใช้ยามากกว่าร้อยละ 50  มีโรงพยาบาล 3 แห่งที่ใช้ยากลุ่ม Quinolone ชนิดรับประทานในผู้ป่วยท้องร่วงเฉียบพลันลดลง (พ.ศ.2553 - 2554) แต่ยังมากกว่าร้อยละ 50  


สรุปผล : จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้เห็นว่ายังมีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และโรคท้องร่วงเฉียบพลันในอัตราที่สูง และมีอัตราการใช้ยาแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งสามารถนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปปรับปรุงคุณภาพการใช้ยาของโรงพยาบาลที่มีปัญหา โดยควรยึดแนวทางในการปฏิบัติที่เหมือนกันทุกโรงพยาบาล เพื่อลดความแตกต่างของอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างแต่ละโรงพยาบาล

Article Details

Section
Appendix