การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์โดยการรายงานจากผู้ป่วยโดยตรงในคลินิกโรคข้อและกระดูกโรงพยาบาลมหาสารคาม และร้านยามหาวิทยาลัย

Main Article Content

จิราภรณ์ สอนสิน
ดนัยา ชนะชัยวิบูลวัฒน์
นินท์ พลเรือง
หทัยชนก ราชชมภู
พยอม สุขเอนกนันท์
ภาณุมาศ ภูมาศ

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: การเฝ้าระวังติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reactions: ADRs) โดยแพทย์ เภสัชกรรายงาน ADRs ด้วยความสมัครใจ พบว่าอัตราการรายงานต่ำซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบ SRS จึงมีการพัฒนาวิธีแบบใหม่ในการเฝ้าระวังจากผู้ป่วยรายงานโดยตรง เพื่อเพิ่มอัตราการรายงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความถูกต้องและหาปัจจัยที่มีผลต่อในการรายงาน ADRs ของผู้ป่วย วิธีการศึกษา: โดยทำศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม NSAIDs ติดต่อนานอย่างน้อย 1 เดือน ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกโรคข้อและกระดูก โรงพยาบาลมหาสารคาม และการศึกษาการเฝ้าสังเกตแบบติดตามไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม NSAIDs ในครั้งที่มารับบริการ ณ ร้านยามหาวิทยาลัย 3 สาขา ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และเก็บข้อมูลที่ร้านยามหาวิทยาลัยเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม –  30 กันยายน พ.ศ. 2555  ผลการศึกษา: พบอัตราการตอบกลับแบบสอบถามของผู้ป่วยในกลุ่มร้านยาคิดเป็นร้อยละ 66.0  จากผู้ป่วยทั้งสิ้น 145 ราย เป็นรายงานจากโรงพยาบาล 45 ราย และร้านยา 100 ราย ผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้ยา NSIADs จำนวน 5 รายการ รายงานอาการผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจากยา diclofenac (ร้อยละ 61.5) meloxicam (ร้อยละ 23.1) และ celecoxib (ร้อยละ 15.4)   อาการผิดปกติที่ผู้ป่วยรายงานมากที่สุด คือ แสบร้อนบริเวณทรวงอก (ร้อยละ 38.5) ผลการประเมินความถูกต้องของการรายงานพบว่าผู้ป่วยรายงานอาการผิดปกติจากยากลุ่ม NSAIDs ได้ถูกต้อง (ร้อยละ 48.3) ผู้ป่วยในร้านยามหาวิทยาลัยพบการใช้ยา NSIADs จำนวน 6 รายการ รายงานอาการผิดปกติส่วนใหญ่เกิดจากยา ibuprofen (ร้อยละ 61.9) mefenamic acid (ร้อยละ 19.0) และ diclofenac (ร้อยละ 14.3)   โดยอาการผิดปกติส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยรายงาน คือ ท้องอืดหรือมีลมในกระเพาะอาหารมาก (ร้อยละ 19.0) ผลการประเมินความถูกต้องของการรายงานพบว่าผู้ป่วยรายงานอาการผิดปกติจากยากลุ่ม NSAIDs ได้ถูกต้อง (ร้อยละ 59.3) สรุปผล: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือต่อการรายงานและความถูกต้องในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ถูกต้องประมาณร้อยละ 50 การพัฒนาความถูกต้องของการรายงานโดยการประเมินระบบและยืนยันผลการรายงานโดยเภสัชกรควรได้รับการสนับสนุนต่อไป

Article Details

Section
Appendix