ผลของระบบนำส่งน้ำมันหอมระเหยต่อฤทธิ์การต้านจุลชีพบางชนิด

Main Article Content

นิติรัฐ ไหว้พรหม
วศิน ศรกายสิทธิ์
วัชรี คุณกิตติ

Abstract

บทคัดย่อ


ไมโครอิมัลชันเป็นหนึ่งในระบบนำส่งยาที่ทันสมัย และยังสามารถช่วยเพิ่มฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหย จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด และระบบนำส่ง 3 ระบบที่แตกต่างกันใน Escheria coli, Staphylococcus epidermidis และ Candida albicans ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมของน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบไมโครอิมัลชันได้คัดเลือกจากการศึกษาในรูปแบบของ ternary phase diagram และได้ศึกษาผลลการยับยั้งจุลชีพทั้ง 3 ชนิด โดยใช้น้ำมันหอมละเหยของ ตะไคร้, กานพลู และใบอบเชย ในอัตราส่วน 4% ของตำรับซึ่งได้ทำการศึกษาทั้งรูปแบบชนิดเดียว และผสมกันหลายชนิด ในระบบนำส่งที่มีเอทานอล, Tween 80 ในเอทานอลและ 40 PEG hydrogenated castor oil ในเอทานอล นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของน้ำมันในระบบนำส่งโดยการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้า และการวัดขนาดอนุภาค ผลการศึกษาพบว่าตำรับไมโครอิมัลชันสามารถยับยั้งจุลชีพที่ใช้ในการทดสอบได้ทุกชนิด และพบว่าน้ำมันหอมระเหยในระบบไมโครอิมัลชันทั้งหมดที่ทำการทดสอบ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ C. albicans, E. coli และ S. epidermidis ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้าและขอบเขตการยับยั้งเชื้อ และพบว่าการนำน้ำมันหอมระเหยมาผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ทาให้ฤทธิ์ในการต้านจุลชีพลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระบบนำส่งไมโครอิมัลชันชนิดต่างๆ ต่อการต้านเชื้อ (p> 0.05) นอกจากนี้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างศักย์ไฟฟ้าซีต้า และขอบเขตการยับยั้งเชื้อของ E. coli, S. epidermidis และ C. albicans มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์คือ 0.861, 0.746 และ 0.936 ตามลำดับ และพบว่าระบบนำส่งไมโครอิมัลชันสามารถเพิ่มฤทธิ์ในการต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยได้ และควรหลีกเลี่ยงการผสมกันของน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เนื่องจากก่อให้เกิดอันตรกิริยา และค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้าของน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบไมโครอิมัลชันอาจใช้ในการทำนายฤทธิ์การต้านเชื้อจุลชีพได้

Article Details

Section
Appendix