คุณลักษณะทางกายภาพของสารกระจาย ผสมพอลิเมอร์ไทโอเลต

Main Article Content

จารุ กิติโรจน์พันธ์
จุฬาลักษณ์ ไชยเชียงของ
ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: พอลิอิเล็กโตรไลท์คอมเพลกซ์ (Polyelectrolyte complexes) เป็นการนำสารที่มีประจุตรงข้ามกันมาผสมกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนชนิดใหม่ วัสดุและวิธีการทดลอง: การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนและพีเอชต่อลักษณะทางกายภาพ ขนาดอนุภาค ความหนืด และศักย์ไฟฟ้าซีตา ของสารประกอบเชิงซ้อนของพอลิเมอร์ไทโอเลต 2 ชนิดคือ Chitosan-thioglycolic acid (CS-TGA) และ Poly(acrylic acid)-cysteine (PAA-Cys)  ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบผลของ CS-TGA ต่อ PAA-Cys ในอัตราส่วน 1:0.1 และ 1:1 ที่พีเอช 4 พบว่า อัตราส่วน 1:0.1 มีความขุ่นและปริมาณตะกอนน้อยกว่าอัตราส่วน 1:1 มีขนาดอนุภาคเท่ากับ 76.47±15.93 และ 106.24±9.47 µm มีความหนืดเท่ากับ 2.00±0 และ 1.83±0.19 cP และมีค่าศักย์ไฟฟ้าซีตาเป็น 49.89±2.43 และ 32.69±1.74 mV ตามลำดับ  และเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนพอลิเมอร์ไทโอเลตทั้ง 2 ชนิดที่ 1:0.5 ที่พีเอชเท่ากับ 4 ละ 6  พบว่า ที่พีเอชเท่ากับ 4 มีความขุ่นและปริมาณตะกอนน้อยกว่าที่พีเอชเท่ากับ 6 มีขนาดอนุภาคเท่ากับ 77.99±8.51 และ 119.37±22.50 µm มีความหนืดเท่ากับ 1.92±0.14 และ 1.71±0.08 cP และมีค่าศักย์ไฟฟ้าซีตาเป็น 42.56±1.49 และ 16.93±1.15 mV ตามลำดับ สรุปผล: จากการศึกษาทำให้เห็นถึงผลของอัตราส่วนและพีเอชต่อคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่าง CS-TGA และ PAA-Cys ซึ่งผลการศึกษาที่ได้นี้สามารถเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในระบบนำส่งยา เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของฟิล์มเคลือบเม็ดยา หรือ สารแขวนตะกอน เป็นต้น

Article Details

Section
Appendix