ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ :ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที ๒ – ๓ ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน ๑๗ บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ๔๒ แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๘ แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก ๙๒ แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ แผ่น วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแผ่นศิลาจารึกแผ่นที่ ๕-๘ (ตามลำดับผังของกรมศิลปากร) ในศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านขวา วิธีการทดลอง:โดยการเปรียบเทียบศิลาจารึกที่ผ่านเทคโนโลยีการถ่ายภาพแมโครและนำภาพมาต่อกัน ทำการลอกลายโดยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ พร้อมคำจารึกที่ถอดอักษรภาษาไทยปัจจุบัน และคำอ่าน เทียบกับสำเนาที่มีผู้เคยศึกษามาก่อนคือ ฉบับที่คัดลอกโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. วิเชียร จีรวงส์ (พ.ศ. ๒๕๑๒) โดยการคัดลอกจากการลอกลายโดยใช้กระดาษไขทาบแล้วใช้ดินสอขูดจนเป็นรอยตัวอักษรบนกระดาษไข และ ฉบับกรมศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๔๕) โดยการปริวรรตอักษร สรุปผลการศึกษา: จากการเปรียบเทียบพบว่า ศิลาจารึกบริเวณผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ๔ มีแผ่น ด้านขวาการติดสลับตำแหน่งไปจากเมื่อคราวที่กรมศิลปากรคัดลอก จากการศึกษาที่มีมาก่อนหน้าพบความคลาดเคลื่อนของเนื้อหาเมื่อเทียบกับแผ่นศิลา ได้แก่ ชื่อโรค อาการของโรค ชื่อเวลาของการเกิดโรคที่แตกต่างกัน ชื่อเครื่องยา เครื่องยาบางชนิดหายไปจากตำรับ ขนาดของเครื่องยาที่ใช้ นอกจากนี้ยังพบข้อความ รายละเอียดภายในแผ่นศิลาจารึกที่เลือนหายไปเนื่องจากการชำรุดไปตามกาลเวลา การปฏิสังขรณ์ การเก็บรักษา การปฏิสังขรณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็มีส่วนในการที่ทำให้ศิลามีความเสียหายที่ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included