การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ทางสเปกโตรโฟโตเมตรี เพื่อหาปริมาณ γ-Aminobutyric acid (GABA) ในผลิตภัณฑ์ ข้าวกล้องงอก

Main Article Content

สยาม ชนะมาตย์
วาทินี พันพรม
จารุวรรณ ธนวิรุฬห์

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: กาบา (GABA; gamma aminobutyric acid) เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้งที่สำคัญที่พบในระบบประสาทส่วนกลางและมีหน้าที่สำคัญในสมอง  กาบาในข้าวนั้นสร้างขึ้นจากกรดกลูตามิค (glutamic acid) ด้วยเอนไซม์กลูตาเมสดีคาร์บอกซีเลส (glutamate decarboxylase)  ปัจจุบันการวิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าวนั้นยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความยุ่งยากและใช้เวลานาน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิเคราะห์หากาบาที่ง่าย เร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างสารอนุพันธ์และวัดด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรีเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าวกล้อง วัสดุและวิธีการทดลอง: ทำการสกัดกาบาด้วยสารละลาย 50% เมทานอล จากนั้นทำปฏิกิริยากับ Naphthalene-2,3-dicarbaldehyde (NDA), 2-Hydroxynaphthaldehyde(HN) และ Ninhydrin เพื่อให้เกิดเป็นสารอนุพันธ์และวัดปริมาณด้วยเทคนิคเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรีเชิงอนุพันธ์ และทำการเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาโดยพิจารณาจาก  pH ของ buffer อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการต้ม จากนั้นนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าว ผลการทดลอง: การทำปฏิกิริยากับ NDA ด้วย buffer pH 9 ที่อุณหภูมิ 50 °C เป็นเวลา 10 นาที คือ สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการทำปฏิกิริยา และกราฟอนุพันธ์อันดับ 1 ที่ความยาวคลื่น 451.5 nm มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าว ผลการวิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าวพบว่าในข้าวกล้องงอกมีกาบาอยู่ 20.00-22.31 mg/100g ของผงแห้ง ซึ่งมีมากกว่าข้าวขัดสี มีกาบา 17 .31mg/100g ของผงแห้ง สรุปผลการทดลอง: การวัดปริมาตรของกาบาด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรีเชิงอนุพันธุ์โดยการทำปฏิกิริยาด้วย NDA นั้นเป็นวิธีที่สามารถใช้วิเคราะห์หาปริมาณกาบาในข้าวกล้องงอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสะดวก รวดเร็ว

Article Details

Section
Appendix