การพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างก่อนขั้นตอนการสกัดสารแซนโธฟิลส์จากดาวเรือง

Main Article Content

ชนิกานต์ ขอเหนี่ยวกลาง
ปิยะพร เทพนาที
วรรณลีลา ลิไธสง
โสภาพร พลนอก
สกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์
วนิดา ไทรชมภู

Abstract

บทคัดย่อ


บทนำ: แซนโธฟิลส์ (Xanthophylls) เป็นสารสีเหลืองในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid)  ในปัจจุบันมีการนำสารแซนโธฟิลส์มาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้นทั้งทางยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และปศุสัตว์ ดอกดาวเรืองเป็นแหล่งหนึ่งที่มีแซนโธฟิลส์สูงจึงนิยมใช้ผสมในอาหารสัตว์ เกษตรกรจะได้ราคาดอกดาวเรืองสูงเมื่อผลผลิตมีคุณภาพสูงซึ่งพิจารณาจากสารแซนโธฟิลส์ที่สกัดได้เป็นหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาคุณภาพและปริมาณของแซนโธฟิลส์ในดอกดาวเรืองหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้สารแซนโธฟิลส์ปริมาณสูงจากการสกัด วัสดุและวิธีการ: แยกเชื้อราจากดอกดาวเรือง และคัดเลือกเชื้อราจากความสามารถของเอนไซม์เซลลูเลส เพื่อใช้ในการทำ pre-treatment ด้วยวิธี solid-state fermentation เป็นเวลา 5 วัน ก่อนการสกัดแซนโธฟิลส์จากดอกดาวเรือง จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณแซนโธฟิลส์ที่สกัดได้โดยวิธี TLC densitometry  และเปรียบเทียบผลจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทำ pre-treatment และกลุ่มที่ทำ pre-treatment โดยเชื้อราชนิดต่างๆ ผลการศึกษา: แยกเชื้อราจากดอกดาวเรืองได้ทั้งหมด 4 ชนิด คือ MG 01, MG 02, MG 03 และ MG 04 โดยเชื้อที่ย่อยสลายเซลลูโลสได้ดีที่สุดคือ MG 01, MG 02 และ MG 03 ซึ่งในสารสกัดดอกดาวเรืองที่หมักด้วยเชื้อ MG 01, MG 02 และ MG 03 มีปริมาณแซนโธฟิลส์ เท่ากับ เท่ากับ 24.1435±0.6137, 16.6780±1.0743, 16.2604±0.3345 กรัมต่อกิโลกรัมผงแห้ง ตามลำดับ ส่วนกลุ่มควบคุมมีปริมาณแซนโธฟิลส์ เท่ากับ 16.0658±1.2127 กรัมต่อกิโลกรัมผงแห้ง  โดยการทำ pre-treatment ดอกดาวเรืองก่อนการสกัดดอกดาวเรืองสดด้วยเชื้อรา MG 01 ทำให้ได้ปริมาณแซนโธฟิลส์มากกว่าสารสกัดที่ไม่ได้ทำ pre-treatment  อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สรุปผล: การเตรียมตัวอย่างก่อนการสกัดสารแซนโธฟิลส์จากดอกดาวเรืองด้วยวิธี solid-state fermentation เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรได้


 

Article Details

Section
Appendix