การประเมินฉลากเครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

มลชยา อุดมกิตติ
มานิตา หาญพานิชเจริญ

Abstract

บทนำ:  เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชนกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ฉลากจัดเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ ซึ่งบอกข้อมูลรายละเอียดของผลิตภัณฑ์และช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้บริโภคในการเลือกผลิตภัณฑ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินสถานการณ์ฉลากภาษาไทยของเครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน (OTOP) ที่มีจำหน่ายในจังหวัดอุบลราชธานี ว่าสอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดในพรบ.เครื่องสำอางปี 2535 หรือไม่ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือฉลากเครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชนจำนวน 103 ตัวอย่าง จาก 5 อำเภอที่เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์เศรษฐกิจและสังคม คืออำเภอเมือง อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอตระการพืชผล เครื่องมือในการวิจัยคือแบบประเมิน ประเมินข้อความบนฉลากตามพรบ.เครื่องสำอางปี 2535 การพิจารณาข้อความและสรรพคุณบนฉลาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนาและค่าสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาวิจัย: พบว่า ฉลากเครื่องสำอาง OTOP จากนอก อ.เมือง คิดเป็นร้อยละ 43 และจากใน อ.เมือง คิดเป็นร้อยละ 57 ซึ่งผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและราคาเฉลี่ยสูงมากกว่า ผลการประเมินข้อความบนฉลาก ตามที่กำหนดในพรบ.เครื่องสำอางปี 2535 พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 มีการระบุข้อความบนฉลากครบถ้วนตามที่กำหนด แต่ไม่มีการระบุวันเดือนปีที่ผลิตและคำเตือนอันตรายจากเครื่องสำอางซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อผู้บริโภค ผลการประเมินพิจารณาข้อความและสรรพคุณบนฉลาก พบว่าร้อยละ 64.08  ไม่ใช้ชื่อทำนองโอ้อวดก่อให้เกิดความเข้าใจผิด มีการแสดงสรรพคุณที่ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ร้อยละ 89.32 มีการระบุประเภทหรือชนิดถูกต้องตามผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 74.76 ไม่มีการระบุสารที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 55.34 มีการระบุวิธีใช้ที่เหมาะสม และร้อยละ 90.29 ฉลากติดในตำแหน่งที่เหมาะสมอ่านได้ง่าย และมีเพียงร้อยละ 18 ที่มีข้อความบนฉลากถูกต้องครบถ้วนทุกหัวข้อ สรุปผลการวิจัย: ส่วนใหญ่มีการระบุข้อความบนฉลากตามที่พรบ.เครื่องสำอางปี 2535 กำหนด แต่ยังพบฉลากบางตัวอย่างที่มีข้อความบนฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วนอยู่ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการควบคุมตรวจสอบและอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

Article Details

Section
Abstracts