ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอาการปวดเรื้อรังของผู้ป่วยในชุมชนที่ไม่ได้เกิดจากโรคมะเร็ง

Main Article Content

พรรณวดี อาจศรี
จุฑารัตน์ สุจริต
สมพร เพ็งงาม
ราตรี สว่างจิตร
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ

Abstract

บทนำ: อาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากโรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่ยังขาดการจัดการและดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม การเข้าใจบริบทของผู้ป่วยและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอาการปวดจะช่วยให้สามารถวางแผนดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษานี้เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอาการปวดเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เลือกและพัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยได้เหมาะสม วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามประยุกต์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนบ้านมะกอกหมู่ 18 (กลุ่มที่ 1) และบ้านดอนเวียงจันทร์หมู่ 8 (กลุ่มที่ 2) จำนวน 12 และ 11 คน ตามลำดับ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากการศึกษาเชิงปริมาณ 10 คน ผลการศึกษาวิจัย: ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่าทั้งสองกลุ่มมีความรู้และพฤติกรรมการจัดการอาการปวดในระดับดี แต่มีทัศนคติในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ยา คือ คำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ ความสะดวก และคำแนะนำของเพื่อนบ้าน ตามลำดับ ปัญหาจากการใช้ยาแก้ปวดที่พบมากที่สุดจากตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม คือ การรับประทานยาที่ไม่ระบุตัวยาสำคัญ  และในกลุ่มที่สองยังพบปัญหาการใช้ยาชุดแก้ปวดด้วย ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าการจัดการความปวดแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ การดูแลตัวเองโดยใช้ยา ไม่ใช้ยา และใช้ 2 วิธีร่วมกัน ยาที่นิยมใช้คือ ยาพาราเซตามอล วิธีไม่ใช้ยาคือ การบีบนวด และสามารถจำแนกแนวคิดผู้ป่วยได้ 5 ประเด็นหลัก คือ  (1) มุมมอง การรับรู้และผลกระทบต่ออาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็ง (2) พฤติกรรมการจัดการอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็ง (3) วิธีการจัดการอาการปวด (4) ทัศนคติต่อยาบรรเทาอาการปวด (5) ทัศนคติต่อบุคลากรทางการแพทย์ในการจัดการอาการปวด สรุปผลการวิจัย: ความเข้าใจผู้ป่วย และการทราบปัญหาการจัดการอาการปวดรวมถึงการใช้ยาแก้ปวด สามารถใช้พัฒนาบทบาทเภสัชกรในการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังในชุมชนได้

Article Details

Section
Abstracts