ความสุข ความเครียด และสาเหตุความเครียด ของนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

พรพิมล ขจรภพ
พิสมัย สอนสา
ราตรี แมนไธสง

Abstract

บทนำ:  งานกิจการนิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีหน้าที่หลักคือ ช่วยให้นิสิตมีความพร้อมในการศึกษา และช่วยพัฒนานิสิตเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้ง 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา พร้อมเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้เข้าใจนิสิตมากขึ้น งานกิจการนิสิตจึงทำการประเมินความสุข ความเครียด และสาเหตุความเครียดของนิสิต วิธีการดำเนินการวิจัย: งานวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาในนิสิตชั้นปีที่ 1-5 เทอม 1 ปีการศึกษา 2556  แจกแบบสอบถามนิสิตชั้นปีละ 60 คน รวมทั้งหมด 300 คน นิสิตตอบกลับ จำนวน 209 คน (ร้อยละ 69.67) เก็บข้อมูลเดือน กรกฎาคม–สิงหาคม 2556 ใช้แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง จำนวน 20 ข้อ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขและประเมินความสุขด้วย Visual Analogue Scale  ผลการศึกษาวิจัย: นิสิตเภสัชศาสตร์ 209 คน เป็นชั้นปี 1 จำนวน 60 คน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 59 คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 40 คน ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน และชั้นปีที่ 5 จำนวน 20 คน เป็นเพศชาย 58 คน (ร้อยละ 28.2) และเพศหญิง 148 (ร้อยละ 71.8) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.7) เข้าร่วมกิจกรรมของคณะบางครั้งถึงเป็นประจำ เกรดเฉลี่ย 3.55±0.37 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 6,791.67±4,780.65 บาท/เดือน ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 20.85±3.37 กก./เมตร2  นิสิตทั้งหมดมีคะแนนความสุขเฉลี่ย (0–100) 74.93±14.10 ซึ่งอยู่ในระดับดี โดยชั้นปีที่ 2 มีคะแนนความสุขสูงสุด 78.66±12.01 ขณะที่ชั้นปี 4 มีคะแนนความสุขต่ำสุด 69.53± 22.34 คะแนนความเครียดภาพรวมเฉลี่ย 16.99±6.68 ซึ่งอยู่ในระดับปกติหรือไม่เครียด ชั้นปี 1 มีคะแนนความเครียดสูงสุด 18.08±6.15 คือมีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย ชั้นปี 3 มีคะแนนความเครียดต่ำสุด 15.50±7.07 หรือระดับปกติ สาเหตุของความเครียดของนิสิตทั้งหมด 3 อันดับแรกคือ  1) การเรียน  2) สภาพสิ่งแวดล้อม และ 3) สุขภาพของตน สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีคะแนนความเครียดสูงสุด สาเหตุ 3 อันดับแรก คือ 1) การเรียน  2) การปรับตัวกับสภาพแวดล้อม  และ 3) สุขภาพของตนเอง  สรุปผลการวิจัย: นิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความสุขในระดับดี มีความเครียดระดับปกติหรือไม่เครียด โดยชั้นปี 1 มีระดับความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย โดยสาเหตุหลักของความเครียดของนิสิตทั้งหมด 3 อันดับแรก คือ การเรียน สภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของตนเอง

Article Details

Section
Abstracts