คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นและระยะลุกลาม

Main Article Content

สุภัสร์ สุบงกช
นุจรี ประทีปปะวณิช จอห์นส
อรไพลิน เผื่อนพินิจ
หทัยกาญจน์ สายทรัพย์
กัญญาณัฐ เนตรสถิตย์

Abstract

บทนำ:  โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีอัตราป่วยและอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การศึกษาด้านคุณภาพชีวิตก่อนหน้านี้ เลือกใช้เครื่องมือในการวัดคุณภาพชีวิตแบบทั่วไปที่ยังไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคมะเร็งเต้านม ไม่ครอบคลุมทุกมิติ ทำให้ไม่ทราบองค์รวมของผู้ป่วย วิธีการดำเนินการวิจัย: ทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าร่วมโครงการ MIQOL-B Trial ณ ก่อนเริ่มการรักษา โดยใช้แบบสอบถาม FACT-B ผลการศึกษาวิจัย: ผู้ป่วยในการศึกษา 77 ราย มีอายุเฉลี่ย 49.17 ± 9.09 ปี  ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส (83.10%)  มีระดับการศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (51.90%) มีอาชีพ (90.90%) มีผลของตัวรับเอสโตรเจนเป็นบวก (58.40%) ตัวรับโปรเจสเตอโรนเป็นบวก (51.90%) ผลของตัวรับ HER-2 เป็นลบ (51.90%) มีค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิต (FACT-V)  ณ จุดเริ่มต้นการศึกษา 104.40+15.58 คะแนน โดยปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนคุณภาพชีวิต ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ < 50จะมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านความผาสุกด้านสังคมและครอบครัวสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ >50 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.026) กลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านความผาสุกด้านร่างกายสุงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ (P=0.034) และผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่3 จะมีคะแนนคุณภาพชีวิตในด้านความผาสุกด้านสังคมครอบครัว ที่สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.001) และผู้ป่วยที่มี PR เป็นลบจะมีคะแนนคุณภาพชีวิตที่สูงกว่ากลุ่ม PR เป็นบวก ในด้านข้อคำถามมะเร็งเต้านม (BCS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.005) และผู้ป่วยที่มี HER-2 receptor เป็นบวกมีคะแนนคุณภาพชีวิตในด้าน BCS สูงกว่ากลุ่ม HER-2 receptor เป็นลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.026) โดยปัจจัยที่ส่งผลคุณภาพชีวิตโดยควบคุมตัวแปรกวน ได้แก่ ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และระยะโรคมะเร็งเต้านมกับคะแนนคุณภาพชีวิตในมิติความผาสุกด้านร่างกาย ด้านสังคม/ครอบครัว ด้านอารมณ์จิตใจ  การปฏิบัติกิจกรรม และคำถามเฉพาะด้านโรคมะเร็งเต้านม  แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย: คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยที่เริ่มต้น (FACT-B) เท่ากับ104.40±15.58 คะแนน ปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนคุณภาพชีวิต ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา PR status และ HER-2 receptor

Article Details

Section
Abstracts