ผลของการให้บริการเลิกบุหรี่โดยคลินิกเลิกบุหรี่ ในร้านยามหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
บทนำ: ปัจจุบันนี้มีผู้เข้ารับบริการเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาล มีจำนวนมาก และการศึกษาการเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ระหว่างร้านยาและโรงพยาบาลยังมีจำกัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการให้บริการเลิกบุหรี่โดยคลินิกเลิกบุหรี่ในร้านยามหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลมหาสารคาม วิธีการดำเนินการวิจัย: ศึกษาจำนวนบุหรี่ที่ลดลงต่อวัน จำนวนผู้ป่วยที่สามารถเลิกบุหรี่ได้และอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ใช้ในการเลิกบุหรี่ โดยรูปแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลองโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2555 – มกราคม 2556 มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 68 คนแบ่งเป็นในร้านยามหาวิทยาลัยจำนวน 33 คนและในโรงพยาบาลมหาสารคามจำนวน 35 คนระยะเวลาในการติดตามการให้คำปรึกษาแต่ละรายใช้เวลา 30 วันคือ ณ วันที่ 0, 7, 14 และ 30 ผลการศึกษาวิจัย: ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในด้านเพศและอายุ (p=0.493, p=0.474 ตามลำดับ) แต่มีความแตกต่างกันด้านโรคประจำตัวของผู้ป่วย (p<0.001) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันก่อนได้รับคำแนะนำและหลังได้รับคำแนะนำในร้านยามหาวิทยาลัยคือ 11.79±11.55 มวนและ 3.06±7.76 มวนตามลำดับ (p<0.001) ในโรงพยาบาลมหาสารคามพบว่ามี 14.77 ±8.79 และ 12.23±7.56 มวนตามลำดับ (p=0.054) ค่าเฉลี่ยผลต่างของจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันในร้านยามหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลมหาสารคามคือ 9.03±1.05 มวนและ 5.51±1.01 มวน ตามลำดับ (p=0.035) อัตราการเลิกบุหรี่ในร้านยามหาวิทยาลัยคิดเป็นร้อยละ 54.54 และไม่มีผู้ที่สามารถเลิกได้ในโรงพยาบาลมหาสารคามในช่วงที่ทำการศึกษา (สืบค้นข้อมูลผู้ป่วยจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์) (p<0.001) ผู้ป่วยส่วนมากที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ใช้ยาอมอดบุหรี่หญ้าดอกขาวและอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยคืออาการง่วงซึมจากยา nortriptyline (จำนวน 4 คน; ร้อยละ 17.39) สรุปผลการวิจัย: การศึกษานี้พบว่าผลการให้บริการเลิกบุหรี่ของร้านยามหาวิทยาลัยให้ผลสัมฤทธิ์แตกต่างกับโรงพยาบาล
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included