ศักยภาพการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในหลอดทดลองของข้าวสีพันธุ์ไทย
Main Article Content
Abstract
บทนำ: สารมีสีในข้าวสี เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanins) มีคุณสมบัติสำคัญเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีประโยชน์ในการลดภาวะเครียดออกซิเดชัน หากภาวะเครียดออกซิเดชันมีพัฒนาการที่รุนแรงขึ้นจะเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคชรา (aging), โรคเบาหวาน (diabetes), โรคหัวใจขาดเลือด (coronary heart disease), โรคข้ออักเสบ (arthritis), โรคความจําเสื่อม (Alzheimer’s disease), และโรคมะเร็ง (cancer) เป็นต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวสีพันธุ์ไทย 4 สายพันธุ์ โดยทำการตรวจหาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดข้าว วิธีการดำเนินการวิจัย: สารสกัดข้าวสีพันธุ์ไทย 4 สายพันธุ์ ได้แก่ หอมแดง หอมกุหลาบแดง ก่ำดอยสะเก็ด และหอมดำสุโขทัย2 ใน 50% propylene glycol นำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองด้วยวิธี ABTS, Hydroxyl radical scavenging และ FRAP เปรียบเทียบกับวิตามินซี (n=3) และทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วย ANOVA ตามด้วย Tukey’s post hoc test ผลการศึกษาวิจัย: สารสกัดข้าวสีพันธุ์หอมแดงและหอมกุหลาบแดงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดจากการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS กล่าวคือ สามารถยับยั้งอนุมูลABTS•+ ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณอนุมูลอิสระทั้งหมดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 3.56±0.05% และ 4.12±0.05% ตามลำดับ (วิตามินซี = 5.46±0.59%) ส่วนฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระวิธี Hydroxylradical scavenging และ FRAP นั้น สารสกัดข้าวสีพันธุ์หอมแดงมีฤทธิ์สูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.27±0.02% (วิตามินซี = 0.01±0.001 µg/ml) และจากค่า FRAP ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 2.5% ความสามารถในการรีดิวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ สารสกัดข้าวสีพันธุ์หอมแดงสูงกว่าข้าวสีพันธุ์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.05) จากผลการศึกษาสามารถเรียงลำดับศักยภาพในการต้านออกซิเดชั่นของสารสกัดข้าวสีพันธุ์ต่างๆ ได้ ดังนี้ หอมแดง > หอมกุหลาบแดง > ก่ำดอยสะเก็ด > หอมดำสุโขทัย 2 ตามลำดับนัยสำคัญ (test p< 0.05) สรุปผลการวิจัย: สารสกัดข้าวพันธุ์หอมแดงมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข้าวพันธุ์หอมแดงในกายสัตว์ทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันฤทธิ์ทางชีวภาพนี้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่อไป
Article Details
In the case that some parts are used by others The author must Confirm that obtaining permission to use some of the original authors. And must attach evidence That the permission has been included