การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรในประเทศไทยในการต้านเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

ปริยาพร โพธิ์ศรี
เพชรรัตน์ สาเมฆ
ธีระพงษ์ มนต์มธุรพจน์
สมหวัง จรรยาขันติกุล

Abstract

บทนำ: เชื้อ Acinetobacter baumannii (A. baumannii) เป็นเชื้อแบคที่เรียแกรมลบ ที่พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญชนิดหนึ่งของการติดเชื้อในโรงพยาบาลและสัมพันธ์กับอัตราการตายที่สูงขึ้น ปัจจุบันพบว่าเชื้อมีความไวต่อยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาลดลง สมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพื่อนำมาพัฒนาเป็นยาที่ใช้ในการรักษา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถต้านเชื้อ A. baumannii และ multi-drug resistant Acinetobacter baumannii (MDR- A. baumannii) วิธีการดำเนินการวิจัย: เก็บตัวอย่างเชื้อ A.  baumannii จากผู้ป่วย ซึ่งแยกได้จาก เลือด หนอง และเสมหะ จำนวน 60 ตัวอย่าง ทำการคัดเลือกเชื้อ 7 สายพันธุ์ ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ที่เป็น MDR- A. baumannii และ 2 สายพันธุ์เป็น A. baumannii ซึ่งมีแบบแผนความไวของยาต้านจุลชีพที่แตกต่างกัน  มาทำการทดสอบกับสารสกัดสมุนไพร 10 ชนิด เพื่อหาฤทธิ์ต้านเชื้อโดยใช้วิธีการแพร่ผ่านวุ้น (Agar well diffusion method) ในแต่ละหลุมใส่สารสกัดสมุนไพรความเข้มข้น 10 mg/ml ในตัวทำละลาย 10 % v/v dimethyl sulfoxide ปริมาตร 130 ไมโครลิตร จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส       นาน 20-24 ชั่วโมง แล้ววัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ บริเวณขอบหลุมสารสกัดสมุนไพร ผลการศึกษาวิจัย: สารสกัดฝางมีค่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขอบเขตการยับยั้งสูงสุดอยู่ระหว่าง 14-17 มิลลิเมตร รองลงมาคือ สารสกัดชา 11-14 มิลลิเมตร เทียบกับชุดควบคุมผลบวกคือ colistin sulfate ความเข้มข้น 0.07 µg/µl ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขอบเขตการยับยั้งอยู่ระหว่าง 13-17 มิลลิเมตร สรุปผลการวิจัย:สารสกัดของฝางมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเชื้อ A. baumannii และ MDR- A. baumannii ซึ่งถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นยาที่ใช้ในการรักษาต่อไปได้ โดยเฉพาะในกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบและมีการดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด


 

Article Details

Section
Abstracts