ปริมาณกรดโคโรโซลิกในอินทนิลน้ำและอินทนิลบกและสารจีไอเอวันในผักเชียงดาด้วยวิธีโครมาโทกราฟีสมรรถนะสูง

Main Article Content

ปริทัศน์ แสนโสม
ณัฐพล มิตรสันเทียะ
วราภรณ์ ภูตะลุน

Abstract

บทนำ: ปัจจุบันพืชสมุนไพรไทยถูกนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น สารที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในอินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.) อินทนิลบก (Lagerstroemia macrocarpa) คือ corosolic acid และผักเชียงดา (Gymnema inodorum (Lour.) Decne.) คือ GiA-1 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณ corosolic acid ในต้นอินทนิลน้ำและอินทนิลบก และ GiA-1 ในผักเชียงดาด้วยวิธี High performance liquid chromatography (HPLC) วิธีการดำเนินการวิจัย: ทำการหาปริมาณ corosolic acid และ GiA-1 โดยวิธี HPLC สำหรับ corosolic acid มีวัฏภาคเคลื่อนที่เป็น 60% acetonitrile ใน 0.1% phosphoric acid มีวัฏภาคนิ่งเป็น C18 ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 204 nm ส่วนสาร GiA-1 มีวัฏภาคเคลื่อนที่เป็น 35% acetonitrile ใน 0.1% acetic acid มีวัฏภาคนิ่งเป็น C18 ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 205 nm ผลการศึกษาวิจัย: พบปริมาณ corosolic acid สูงสุดในส่วนใบแก่ของอินทนิลน้ำ คิดเป็น 0.85±0.10 mg/g น้ำหนักแห้ง และในใบแก่ของอินทนิลบกพบในปริมาณ 5.29±0.65 mg/g น้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ในส่วนใบแก่ของพืชในสกุล Lagerstroemia พบว่า ในส่วนใบแก่ของเสลา ตะแบก ยี่เข่ง พบปริมาณ corosolic acid 2.02±0.22, 0.52±0.15, 0.47±0.07 mg/g น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ สำหรับการตรวจวัดปริมาณ GiA-1 ในต้นเชียงดา พบว่าปริมาณ GiA-1 ในส่วนใบ กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบคิดเป็น 30.05±1.60, 1.73±0.13, 3.91±0.16, 0.65±0.01 mg/g น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: อินทนิลบกพบ corosolic acid สูงสุด รองลงมา คือ เสลา และอินทนิลน้ำ ตามลำดับ ส่วน GiA-1 พบสูงสุดในส่วนใบ

Article Details

Section
Abstracts