การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลนวัตกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ฒ.ไม่เฒ่า Diamond พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์ สาขาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณฐกรร นิลเนตร สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • รัชดาวัลย์ จิตรพรกุลวสิน สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สัณฐิตาพร กลิ่นทอง สาขาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • เบญจวรรณ ดุนขุนทด สาขาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พรรณี คอนจอหอ สาขาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์มดิจิทัล, สูงอายุ, นวัตกรรม, การดูแลและส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลนวัตกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ตัวอย่างเป็น อสม. จำนวน 384 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแนวคำถามสนทนาเชิงลึกหรือสนทนากลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมซอฟแวร์และแบบสอบถาม ข้อมูลคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลปริมาณวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบวิลคอกซัน

ผลพบว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลมีระบบการใช้งาน 11 ระบบ คือ 1) ระบบลงทะเบียน 2) ระบบการเข้าสู่ระบบเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น 3) ระบบจัดการผู้ใช้งาน 4) ระบบลงทะเบียนประชากร 5) ระบบกิจกรรมเฉพาะของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 6) ระบบเก็บรวบรวมข้อมูล 7) ระบบส่งออกการรายงานข้อมูล 8) ระบบหน้ากระดานที่ใช้สรุปข้อมูล 9) ระบบรายงานทางสถิติ 10) ระบบรายงานผลการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและ 11) การเข้าสู่เวปไซด์ หลังทดลองใช้งานพบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นสูงขึ้นในด้านความสามารถทำงานตามหน้าที่ (gif.latex?\bar{x} = 4.39, SD .47) ความง่ายต่อการใช้งาน (gif.latex?\bar{x} = 4.72, SD .45) ประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{x} = 4.54, SD .41) และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (gif.latex?\bar{x} = 4.28, SD .43)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เสนอแนะให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลระหว่างอสม. บุคลากรสุขภาพและผู้บริหารระบบ บรรจุการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นเงื่อนไขการปฏิบัติงานของ อสม. ศึกษาระยะยาวติดตามผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล วิจัยและพัฒนาสมรรถนะ อสม. ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพและพัฒนาฐานข้อมูลผู้สูงอายุระดับจังหวัดและจังหวัดเครือข่าย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580). สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/28/843.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนปฏิบัติการงานระบบสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 5 ปี (พ.ศ 2566-2570). สืบค้นจาก https://ict.moph.go.th/upload_file/files/ 185a8b3c164b5f4cd428 a2e78bd46a5d.pdf

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัล เพื่อระบบบริการสุขภาพ และระบบสุขภาพภาคประชาชน ระยะ 5 ปี ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พ.ศ. 2564 – 2568. กรุงเทพ: สมาย แคช.

คณะกรรมการจัดการความรู้โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. (2562). คู่มือการจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.phd.ru.ac.th/images/document/KM2561.pdf

ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2565). การดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติถัดไป. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 74-84.

พญา สื่อยรรยงศิริ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับความคาดหวังด้านสุขภาพของผู้เข้าร่วมชมรมวัยสดใสตำบลหัวหินอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สืบค้นเมื่อจาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-2-1_1584416043.pdf

พิรงรอง รามสูต. (2565). แพลตฟอร์มดิจิทัล. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 1(2), 1-36.

ยุทธพล เดชารัตนชาติ และยิ่งศักดิ์ คชโคตร. (2565). รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 63-80.

วรพจน์ องค์วิมลการ และสุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์. (2566). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มกรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ. วารสารวิชาการซายน์เทค มรภ, 2(2), 1-6

วรรณรัตน์ ลาวัง, อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน, จักริน สุขสวัสดิ์ชน, และอโนชา ทัศนาธนชัย. (2562). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ‘สมาร์ทการดูแล’ เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์. (2566). ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง ‘กิน-อยู่-ดี แพลตฟอร์ม’ ต้นแบบแบรนด์ธุรกิจนวัตกรรมไทย คิดค้นโดยคนไทย 100%. สืบค้นจาก https://www.salika.co/2022/08/29/kinyoodee-platform-thailand-health-innovation-business-model/

อัฐวุฒิ จ่างวิทยา. (2561). วิวัฒนาการของการคิดเชิงออกแบบ: จากกลยุทธการแก้ปัญหาของภาคธุรกิจ สู่องค์ความรู้ในภาควิชาการและไปสู่การย่อส่วนเพื่อนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1944-1957.

Almelhi, A. M. (2021). Effectiveness of the ADDIE Model within an E-Learning Environment in Developing Creative Writing in EFL Students. English Language Teaching, 14(2), 20-36.

Beattie, Z., Miller, L. M., Almirola, C., Au-Yeung, W. T. M., Bernard, H., Cosgrove, K. E., ... & Kaye, J. (2020). The collaborative aging research using technology initiative: An open, sharable, technology-agnostic platform for the research community. Digital Biomarkers, 4(1), 100-118.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

ดุรงค์ฤทธิชัย ว., รุจิกาญจนรัตน์ ก., นิลเนตร ณ., จิตรพรกุลวสิน ร., กลิ่นทอง ส., ดุนขุนทด เ., & คอนจอหอ พ. (2023). การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลนวัตกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ฒ.ไม่เฒ่า Diamond พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 9(2), 127–139. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/265442