ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยตนเอง บรรยากาศการสื่อสารในองค์กรกับพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด 19 ของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ด้วยตนเอง, บรรยากาศการสื่อสารในองค์กร, พฤติกรรมความปลอดภัยจาการคิดเชื้อโควิด 19, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยตนเอง บรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กรกับพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด 19 ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี จำนวน 93 คน ที่ให้การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบสอบถามบรรยากาศการสื่อสารในองค์กรและแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมความปลอดภัยจาการติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .94, 1.00, และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า บรรยากาศสื่อสารในองค์กรมีในระดับมาก (Mean = 4.03, SD =.545) การเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.88, SD = .411) และพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด 19 อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.15, SD =.435) การเรียนรู้ด้วยตนเองและบรรยากาศการสื่อสารในองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 (r = .674 และ .502)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_1.pdf
ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร. (2560). การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ดุษฎี อรรจน์อังกูร. (2561). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ทัศนีย์ สุนทร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มงานกับการปฏิบัติงานของวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นราจันทร์ ปัญญวุทโส, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, และประภาพร ชูกำเนิด. (2565). ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในภาวะวิกฤตของการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 59-72.
แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัทยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) (ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
ยุพาพร ทองอินทร์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศการสื่อสารภายในองค์กรของพนักงานโรงแรม โมเวนฟิค รีสอร์ท แอนด์สปากะรนบีชภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ : แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณา จงจิตรไพศาล, อดุลย์ บัณฑุกุล, และกิติพงษ์ พนมยงค์. (2563). โปรแกรมปกป้องบุคลากรจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 สำหรับสถานบริการสาธารณสุข. กรุงเทพ: สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
อุษา แก้วอำภา. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศการสื่อสารขององค์การการเพิ่มคุณค่าในงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Burns, N. and Grove, S.K. (2005) The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. (5th ed). Missouri: Elsevier Saunders.
Chen, N., Zhou, M., Dong, X., Qu, J., Gong, F., Han, Y., ... & Zhang, L. (2020). Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. The lancet, 395(10223), 507-513.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.)., Pearson Prentice Hall.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning. Association Press.
Marquis, B. L., & Huston, C. J. (2009). Leadership roles and management functions in nursing: Theory and application. China: Lippincott Williams & Wilkins.
Pace, W. R., & Faules, D. F. (1994). Organizational communication. (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Parker, S. K., Axtell, C. M., & Turner, N. (2001). Designing a safer workplace: importance of job autonomy, communication quality, and supportive supervisors. Journal of occupational health psychology, 6(3), 211-228.
Williamson, S. N. (2007). Development of a self-rating scale of self-directed learning. Nurse researcher, 14(2), 66-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.