ผลของรูปแบบการดูแลตนเอง ตามแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองและการกำกับตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลตนเอง, การกำกับตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลตนเอง ตามแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองและการกำกับตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ ที่รับบริการศูนย์สุขภาพชุมชนอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 43 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีอายุ 35-70 ปี มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมากกว่า ร้อยละ 7 และรักษาด้วยยารับประทาน เข้ารับการฝึกตามรูปแบบการดูแลตนเอง เป็นระยะเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 5 ส่วน คือ 1)ข้อมูลส่วนบุคคล 2)ความรู้ 3)ความสามารถในการกำกับตนเอง 4)การดูแลตนเอง และ 5)พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.80, 0.83, 0.80 และ 0.80 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา เท่ากับ 0.73, 0.83, 0.75 และ 0.77 ตามลำดับ เก็บข้อมูลหลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ One-way repeated measure ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความสามารถในการกำกับตนเอง การดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ค่าน้ำตาลในเลือด (FBS) และค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงกว่าก่อนการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลจากการวิจัยสนับสนุนให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำรูปแบบการดูแลตนเอง ไปประยุกต์ใช้โดยสร้างความตระหนักก่อนการให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การคงความรู้ไว้ กำกับตนเองให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคด้วยการติดตามทางโทรศัพท์อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยกระตุ้นในการพัฒนาทักษะด้วยตนเองทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด และการรับประทานยา ให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม
References
กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2563). โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 66-83.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์.
จันจิรา ภู่รัตน์, ปาหนัน พิชยภิญโญ และสุนีย์ ละกำปั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการกำกับตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 27(1), 20-33.
ฐิติพร ถนอมบุญ, พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, และพัชราพร เกิดมงคล. (2555). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรมร่วมกับการจัดการรายกรณีในการป้องกันการเกิดซ้ำของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 26(3), 94-105.
ปภัสสร กิตติพีรชล, วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2555). ผลของโปรแกรมกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายแกว่งแขนและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(4), 21-32.
ปรียาภรณ์ สวัสดิ์ศรี. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อระดับน้ำตาลในเลือดและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปก เกล้าจันทบุรี, 23(1), 1-14.
สมพงษ์ หามวงศ์ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุงเผือก อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธิ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 451-460.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบควบคุมโรค. (2563). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/strategyMOPH2019.pdf
สายใจ โพนาม. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลฟากห้วย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 108-130.
สุภาพร นันทศักดิ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัยและกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่2ที่ควบคุมไม่ได้ได้โดยใช้แบบจำลองการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ของรพ.สต.บึงสนั่น. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 14(2), 77-89.
อ้อ พรมดี, วีณา เที่ยงธรรม, และปาหนัน พิชยภิญโญ. (2559). โปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 102-117.
Bandura A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall.
Turner, B. J., Liang, Y., Ramachandran, A., & Poursani, R. (2020). Telephone or visit-based community health worker care management for uncontrolled diabetes Mellitus: a longitudinal study. Journal of Community Health, 45(6), 1123-1131.
Oba, N., Barry, C. D., Gordon, S. C., & Chutipanyaporn, N. (2020). Development of a Nurse-Led Multidisciplinary Based Program to Improve Glycemic Control for People with Uncontrolled Diabetes Mellitus in a Community Hospital, Thailand. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 24(3), 349-362.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby
Schmidt, S. A., Lo, S., & Hollestein, L. M. (2018). Research techniques made simple: sample size estimation and power calculation. Journal of Investigative Dermatology, 138(8), 1678-1682.
Surucu, H. A., Kizilci, S., & Ergor, G. (2017). The impacts of diabetes education on self care agency, self-care activities and hbA1c levels of patients with type 2 diabetes: A randomized controlled study. Int J Caring Sci, 10(1), 479.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.