ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครประจำครอบครัว จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงาน, สมรรถนะ, อาสาสมัครประจำครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครประจำครอบครัว จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครประจำครอบครัว จังหวัดสุโขทัย จำนวน 349 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ เจตคติ แรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครประจำครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางและการรับรู้บทบาทอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครประจำครอบครัวสูงที่สุดคือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (β = 0.401) รองลงมาคือ การรับรู้บทบาท (β = 0.384) แรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.104) และระดับการศึกษามัธยมปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (β = 0.075) ตามลำดับ ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ตัวร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครประจำครอบครัวได้ร้อยละ 53.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สร้างการรับรู้บทบาท และให้แรงสนับสนุนทางสังคมแก่อาสาสมัครประจำครอบครัว และพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับระดับการศึกษาของอาสาสมัครประจำครอบครัว
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2560). รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562, จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/PA2561_bookletv8.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). หลักสูตรอาสาสมัครประจำครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562, จาก http://fv.phc.hss.moph.go.th/files/oskcourse2560.pdf
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). รายงานผลการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562, จาก http://fv.phc.hss.moph.go.th/
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดำเนินงานอาสาสมัครประจำครอบครัว. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
จีรวรรณ หัสโรค์. (2561). การศึกษาการพัฒนาอาสาสมัครประจำครอบครัว เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 13(4), 80-88.
ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 42(2), 179-186.
รัตนะ บัวสนธ์, สำราญ มีแจ้ง, สายฝน วิบูลรังสรรค์, และปุณิกา ศรีติมงคล. (2555). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอิงสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 10(2), 96-107.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2561). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.
Allport, G. W. (1968). The person in psychology: selected essays. Boston, MA: Beacon Press.
Bloom, B. S. J. (1965). The role of educational science in curriculum development. International Journal of the Educational Sciences, 1(1), 5-15.
Bloom, B. S. J. (1975). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. New York, NY: David Mckay.
Daniel, W. W., & Cross, C. L. (2013). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (10th ed.). Hoboken, NJ: J. Wiley & Sons.
Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2012). Multivariate Data Analysis (7th ed). New York, NY: Pearson Education International.
House, J. S. (1981). The association of social relationship and activities with mortality: community health study. American Journal Epidemiology, 116(1), 123-140.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work (20th ed.). New Jersey, NJ: New Brunswick.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.