ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • มาลีวัล เลิศสาครศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • วิลาวัณย์ เพ็งพานิช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของ นักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร 4 สถาบัน จำนวน 324 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยคัดสรรและคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล ที่ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าดัชนีความตรงของแบบสอบถามส่วนปัจจัยคัดสรรและคุณภาพชีวิตได้เท่ากับ .91 และ.89 ค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .96 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับดี ค่า เฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ปัจจัยคัดสรร ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ลักษณะทางกายภาพการปรับตัวของนักศึกษา เจตคติต่อการเรียน ลักษณะมุ่งอนาคตทางการเรียน สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับอาจารย์/เพื่อน/ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.642, .585, .515, .475, .445, .568, .495, และ .329 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสถาบันอุดมศึกษา ควรคำนึงถึงการจัดสรรสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

จงกลวรรณ มุสิกทอง, อรวมน ศรียุกตศุทธ, รัตนาภรณ์ คงคาม, และนาตยา แสงวิชัยภัทร. (2553). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 28(3), 40-49.

จินตนา กิ่งแก้ว, และณัฐธยาน์ บุญมาก. (2561). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัย เฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(3), 105-117.

ฉลองรัฐ อินทรีย์. (2554). รายงานการวิจัยคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล ในสถาบันการศึกษา เอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปิยะพล ขำอุดม. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลใน สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, นครราชสีมา.

พรรณิการ์ พุ่มจันทร์. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 10-17.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์, และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2559). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 7-20.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 7-16.

ศิวาพร ทองสุข, พรรณวดี พุธวัฒนะ, และพิศสมัย อรทัย. (2556). พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(2), 178-189.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Cruz, J.P., Felicilda-Reynaldo, R.F.D., Lam, S.C., Machuca Contreras, F.A., John Cecily., H.S., & Papathanasiou, I.V., et al. (2018). Quality of life of nursing students from nine countries: A cross-sectional study. Nurse Educ Today, Jul, 66, 135-142. doi: 10.1016/j.nedt.2018.04.016. Epub 2018 Apr 20.

Hendershott, A. B., Wright, S. P., & Henderson, D. (1992). Quality of life correlates for University Students. National Association of Student Personnel Administrators Journal, 30(1), 11-19.

World Health Organization. (1998). WHO-BREF: Introduction, administration, scoring and generic version of the assessment. Geneva: WHO.

Yamane, T. (1973). Statistics, An introductory Analysis. 3rd ed. New York, NY: Harter & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26

How to Cite

เลิศสาครศิริ ม., & เพ็งพานิช ว. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 6(2), 16–27. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/241536