การพัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงาน ในโรงงานผลิตโลหะบัดกรี โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม
คำสำคัญ:
การพัฒนาแบบจำลอง, โรงงานผลิตโลหะบัดกรี, ระดับสารตะกั่วในเลือด, โครงข่ายประสาทเทียมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงานผลิตโลหะบัดกรีจาก ผลตรวจสุขภาพประจำปี และ 2) พัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงานผลิต โลหะบัดกรี โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดข้อมูลที่ใช้ในการหาแบบจำลอง โครงข่ายประสาทเทียมที่เหมาะสมในการประมาณค่าระดับสารตะกั่วในเลือด และชุดข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์ระดับ สารตะกั่วในเลือด การศึกษาในครั้งนี้เริ่มด้วยการวิเคราะห์ผลการตรวจระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงาน ผลิตโลหะบัดกรีแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 46 คน ซึ่งมีผลการตรวจสุขภาพประจำปีครบ 10 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 การประมาณค่าระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงานผลิตโลหะบัดกรีโดยใช้อายุงาน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ผลตรวจสุขภาพประจำปี ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ปริมาณวัตถุดิบ ได้แก่ ตะกั่ว ดีบุก ผล การตรวจตะกั่วในอากาศที่ปลายปล่องระบายอากาศและที่พื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นข้อมูลป้อนเข้าสู่โครงข่ายประสาทเทียม เพื่อพยากรณ์ระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อน ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ และค่าความแม่นยำ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงานผลิตโลหะบัดกรีจากผลตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 46 คน พบว่า พนักงานทุกคนมีระดับตะกั่วในเลือด ไม่เกิน 40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปริมาณสารตะกั่วในเลือดของ พนักงานส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 6-10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 50.4 รองลงมา คือ 11-15 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 32.2 และ 2) แบบจำลองมีความเหมาะสมในการพยากรณ์ระดับสารตะกั่วในเลือด มีความ คลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ ร้อยละ 1.44 การพยากรณ์ระดับสารตะกั่วในเลือดของพนักงานในโรงงานผลิตโลหะบัดกรี ด้วยโครงข่ายประสาทเทียมให้ค่าความแม่นยำในการพยากรณ์สูงถึง ร้อยละ 90.17
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูง ด้วย SPSS for Windows, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial neural network). (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://alaska.reru.ac.th/ text/ann.pdf
จงดี วินิจจะกูล. (2540). พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษ ตะกั่วของผู้ใช้แรงงานในโรงงานแห่งหนึ่งในเขต นิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). ตะกั่วกับการสร้างฮีมและพอร์ฟัยริน. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก http://cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4613/ lesson/main09.html
ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2552). โครงข่ายประสาทเทียม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 12(24), น. 73.
ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา, สสิธร เทพตระการพร, และ ปรียานุช บูรณะภักดี. (2556). โรคพิษตะกั่ว. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22 เรื่องที่ ๖ อาชีวอนามัย. สืบค้นจาก http://kanchanapisek. or.th/kp6/sub/book/book.php?- book=22&chap=6&page=t22-6-infodetail02. html
ภาธสุ ดวงมาลา. (2554, 30 พฤษภาคม). โครงข่ายประสาท เทียมโดยการใช้โปรแกรม Matlab. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด IBOOK ENGINEERING
มนัส สถิรจินดา. (2536). โลหะนอกกลุ่มเหล็ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ และสุรจิต สุนทรธรรม. บรรณาธิการ (2542). โรคตะกั่ว. อาชีวเวชศาสตร์ ฉบับพิษวิทยา. นนทบุรี: โครงการตำรากรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข.
สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์ สุรชัย ลิปิวัฒนาการ และ นุชนารถ ศรีวงศิตานนท์. (ม.ป.ป.). แบบจำลอง โครงข่ายประสาทเทียมชนิดแพร่กลับที่เหมาะที่สุด ในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่วมสำหรับแม่น้ำปิง. สืบค้นจาก pindex.ku.ac.th/file_research/ WE73.doc
สลิลา ยรรยงสวัสดิ์. (2548). สถานการณ์ตะกั่วโลก. กรุงเทพฯ: สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน.
อวยพร คำวงค์ศา. (2550). โรคพิษจากสารโลหะ. ใน สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550. สำนักระบาด วิทยา. สืบค้นจาก http://epid.moph.go.th/
Howard, B.D., Mark, B. & Martin, T.H. (1996). Neural Network Design. Boston: PWS Publishing. Shilu, T., Yasmin, E., Von, S., & Prapamontol, T. (2000). Environmental lead exposure: A public health problem of global dimensions. Bulletin WHO, 78(9), pp. 1068-1077.