การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลและระยะเวลาการผ่าตัดสร้าง เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • วิลาวรรณ ทิพย์มงคล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • นงเยาว์ ภูริวัฒนกุล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า, ต้นทุนกิจกรรมพยาบาล, ระยะเวลา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนกิจกรรมพยาบาล ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลต่อหน่วย และระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก และข้อชาย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยใช้แนวคิดระบบต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย จำนวน 41 คน และผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดสร้าง เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และเลือกตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 25 คน โดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลจาก 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการทำ กิจกรรมพยาบาล และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เงินเดือนของบุคลากรในหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 6 ชุด คือ ชุดที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ชุดที่ 2 พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า ข้อเข่า ชุดที่ 3 แบบสังเกตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม ชุดที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลการจัดบริการผู้ป่วยผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า ชุดที่ 5 แบบบันทึกต้นทุน และชุดที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล ซึ่งเครื่องมือทั้งหมด ได้รับการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่ารวมเฉลี่ย เท่ากับ 107,857.53 บาท และต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลพยาบาลต่อรายโดยเฉลี่ย เท่ากับ 4,314.30 บาท โดยไม่คิดรวมค่าผ่าตัดและค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดและหลังผ่าตัด ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลหลักแบ่งเป็น 4 กิจกรรม โดยพบว่ากิจกรรมที่มีต้นทุนสูงที่สุด คือ การพยาบาลหลังผ่าตัด เท่ากับ 70,874.21 บาท รองลงมา คือ กิจกรรมการพยาบาลก่อนผ่าตัด เท่ากับ 22,988.78 บาท การจำหน่ายผู้ป่วย เท่ากับ 8,225.79 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนกิจกรรมต่ำที่สุด คือ การดูแล แรกรับ เท่ากับ 5,768.75 บาท ต้นทุนค่าแรงรวม เท่ากับ 45,998.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.65 ของต้นทุนทั้งหมด ค่าวัสดุรวม เท่ากับ 40,106.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.18 ของต้นทุนทั้งหมด และค่าทุนปันส่วนรวม เท่ากับ 21,752.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.17 ของต้นทุนทั้งหมด สัดส่วนร้อยละของระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วย ผ่าตัดทั้ง 4 กิจกรรม เท่ากับ 8.86:23.30:62.13:5.72

References

กมลวรรณ จลาพงษ์. (2545). การวิเคราะห์ต้นทุน โดยตรงของการพยาบาลจากระบบจำแนก กิจกรรมการพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา- ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัญญารัตน์ อินใจ. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรม การพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลสูงเม่น. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2554). เศรษศาสตร์สุขภาพ สำหรับการบริการสุขภาพ. สงขลา: ชานเมือง การพิมพ์.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2557). เศรษฐศาสตร์สุขภาพ สำหรับการจัดบริการสุขภาพ. สงขลา: ชานเมือง การพิมพ์.

พรทิวา มีสุวรรณ และขนิษฐา นาคะ. (2551). การรับรู้ ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความต้องการข้อมูล และความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผา่ ตัด หู คอ จมูก ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(2), น. 185-189.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2544). ระบบการบริหารต้นทุน กิจกรรม Activity based costing: ABC, (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

Brimson, J.A. (1991). Activity accounting: An activity-based costing approach. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Kaplan, R., S. & Cooper, R. (1998). Cost and effect: Using integrated cost system to drive profitability and performance. President and Fellows of Harvard College.

Lazarus, R.S., Cohen, F. (1983). Coping and adaptation in health and illness. New York: Free Press. pp. 608-28. McCloskey, J. M. (1998). Nurse staffing and patient outcomes. Nurs. Outlook, 46, pp.199-200

Moon, J.S. & Cho, K.S. (2001). The effects of handholding on anxiety in cataract surgery patients under local anaesthesia. JAN., 35(9), pp. 407-15

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-08-01