การพัฒนาคู่มือการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ผู้แต่ง

  • พรรณวิภา บรรณเกียรติ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • เจษฎา บุญมาโฮม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

คู่มือ, การให้การปรึกษา, ปัญหาสุขภาพจิต, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของคู่มือการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2) เปรียบเทียบความรู้ของผู้เข้าอบรมการใช้คู่มือการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นก่อนและหลังการอบรม 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมต่อคู่มือการให้การ ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการ พัฒนาคู่มือโดยดำเนินการตาม 9 ขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนชิ้นงานเทคโนโลยีการศึกษา เครื่อง มือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ครู แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยที่ได้ คือ 1) ได้คู่มือการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นฉบับอักษรปกติและอักษรเบรลล์ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 หน่วย ได้แก่ ลักษณะและธรรมชาติของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น ปัญหาสุขภาพจิตของ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ทฤษฎีพัฒนาการและทฤษฎีพื้นฐานของการให้การปรึกษา การให้การปรึกษา และแนวทางการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2) คำนวณหาประสิทธิภาพของ คู่มือ (E1/E2) พบว่า คู่มือมีประสิทธิภาพทั้งในภาพรวมและรายหน่วยย่อยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 ระยะที่สอง เป็นการอบรมการใช้คู่มือแก่ผู้เข้าอบรม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย คู่มือฯที่ผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพแล้ว แบบประเมินความรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยที่ได้ คือ 1) ผู้เข้าอบรมการใช้คู่มือมีความรู้เกี่ยวกับการให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพ จิตนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 2) ผู้เข้าอบรมมีคะแนนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 จำนวน 43 คน และ มี 2 คนที่มีคะแนนไม่ผ่านตามเกณฑ์ และ 3) ผู้เข้าอบรมทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อคู่มือในระดับดีถึงดีมาก

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมทางการศึกษา. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.educ.su.ac.th/2013/ images/stories/210655_01.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อ หรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ วิจัย, 5(1), หน้า 7-20.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรม ศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบัน ราชภัฎอุบลราชธานี.

พัชรี ใจใส, ทองย้อย เชียงทอง, จิรัชยา เอี่ยมดิลก, และ เชวง ดุริยางคเศรษฐ์. (2554, 21 มกราคม). สัมภาษณ์.

วัชรี ทรัพย์มี. (2554). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. (พิมพ์ ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2554). การให้ ค?ำปรึกษาด้านสุขภาพและสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Feu, M.D., & Kenneth, F. (2003). Sensory impairment and mental health. Advances in psychiatrcs treatment, (Vol.9, pp 95-103). Retrieved February 12, 2014, from http://www.Apt. repsyh.org/content/9/2/95.full

Gunaratne, L.A. (2014). Visual Impairment: Its Effect on Cognitive Development and Behavior. Retrieved February 12, 2014, from http://www.Intellectual disability. Info/ psysical-health/vistual impairment-itseffect- on-cognitive-development-andbehavior

Haj, F. (1991). Problems with counseling the visually handicapped. The National Federation of the Blind Magazine for Parents and Teachers of Blind Children, (Vol.10, pp 282-290). Retrieved February 12, 2014, from http:// www. uvm.edu2 – cdci/ pric / unit 4_4 slid Asld019. htm

Morrison-Valfre, M. (2013). Foundations of mental health care. (5th ed.). St. Louis, MO: Mosby.

Schinazi,V. R. (2007). Psychosocial implications of blindess and low-vision. London: Centre for Advanced Spatial Analysis, University College London.

World Health Organization. (2013). Visual Impairment and blindess (Fact Sheet No 282, update Octobe 2013). World Health Organization: Media Centre.

Yearwood, E. L., Pearson. G.S., & Newland J. A. (2012). Child and adolescent behavioral health: A resource for advanced practice psychiatric and primary care practitioner in nursing. Oxford England: John Wiley & Sons,Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01