ปัจจัยทำนายปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
คำสำคัญ:
สิ่งก่อความเครียด, ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียด, การระบาดของโรคโควิด 19, หญิงตั้งครรภ์, ปัจจัยทำนายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และ เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ สิ่งก่อความเครียดภายในบุคคล ระหว่างบุคคล และภายนอกบุคคล ที่มีต่อปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งก่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์อายุ 20-45 ปี จำนวน 120 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multiple Stage Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนพื้นฐาน 2) แบบสอบถามสิ่งก่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่เผชิญกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และ 3) แบบสอบถามปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียด มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการวิจัย พบว่า ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.67, SD = .62) และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ สิ่งก่อความเครียดภายในบุคคล ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ โดยสามารถร่วมทำนายปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งก่อความเครียด ได้ร้อยละ 38.1 (R2 =.381) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดูแลและช่วยเหลือ หญิงตั้งครรภ์เมื่อต้องเผชิญกับโรคอุบัติใหม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดโอกาสการเผชิญกับสิ่งก่อความเครียด เพิ่มประสิทธิภาพของการปรับตัวในการเผชิญกับสิ่งก่อความเครียด ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเครียดลดลง และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
References
กรกนก เกื้อสกุล. (2564). วิถีใหม่ในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ช่วงสถานการณ์ COVID-19. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/politic/columnist/650197
กาญจนา ศรีสวัสดิ์ และชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. (2559). ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 7-11.
ขวัญตา บุญวาศ, ศศิธร คาพันธ์, และชุติกาญจน์ แซ่ตั้น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 32(3), 1-10.
เนตรรัชนี กมลรัตนานันท์, นิรัตน์ชฎา ไชงาม, ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล, และกิติวัฒนา ศรีวงศ์. (2563). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงวิกฤตโควิด 19. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2), 175-185.
เบญจวรรณ ละหุการ, วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, ทัศณีย์ หนูนารถ, และมลิวัลย์ บุตรดำ. (2563). ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 1-14.
ผกามาศ เชยกลิ่น, นารีรัตน์ บุญเนตร, และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศร. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 18(1), 60-69.
รุจา แก้วเมืองฝาง, บุญตา สุขวดี, มนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม, และสุภาพร ปรารมย์. (2563). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 370-383.
ศรีพรรณ กันธวัง. (2551). ทฤษฎีระบบของนิวแมน: การนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อรทัย แซ่ตั้ง, จรรยา แก้วใจบุญ, และฐิติพร เรือนกุล. (2564). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อความเครียดของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 22(3), 71-83.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods, 41(4), 1149-1160.
Hobel, C. J., Goldstein, A. M. Y., & Barrett, E. S. (2008). Psychosocial stress and pregnancy outcome. Clinical obstetrics and gynecology, 51(2), 333-348.
Ilska, M., Brandt-Salmeri, A., Kołodziej-Zaleska, A., Preis, H., Rehbein, E., & Lobel, M. (2022). Anxiety among pregnant women during the first wave of the COVID-19 pandemic in Poland. Scientific Reports, 12(1), 8445.
Keenan, K., Sheffield, R., & Boeldt, D. (2007). Are prenatal psychological or physical stressors associated with suboptimal outcomes in neonates born to adolescent mothers?. Early human development, 83(9), 623-627.
Moyer, C. A., Compton, S. D., Kaselitz, E., & Muzik, M. (2020). Pregnancy-related anxiety during COVID-19: a nationwide survey of 2740 pregnant women. Archives of women’s mental health, 23(6), 757-765.
Neuman, B., & Fawcett, J. (2002). The Neuman Systems Model (4th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2012). Nursing research:Generating and assessing evidence for nursing practice (9th ed.). New York: J. B. Lippincott.
Sandman, C. A., Wadhwa, P. D., Chicz-Demet, A., Dunkel-Schetter, C., & Porto, M. (1997). Maternal stress, HPA activity, and fetal/infant outcome. Annals of the New York Academy of Sciences, 814, 266-275.
Schoch-Ruppen, J., Ehlert, U., Uggowitzer, F., Weymerskirch, N., & La Marca- Ghaemmaghami, P. (2018). Women’s word use in pregnancy: Associations with maternal characteristics, prenatal stress, and neonatal birth outcome. Frontiers in Psychology, 9, 1234. doi: 10.3389/fpsyg.2018.01234
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.