ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 134 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.42, SD = .40 ) ความเชื่อด้านสุขภาพด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (
= 4.65 , SD = .53) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
=4.34, SD = .70) พฤติกรรมสุขภาพด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ ด้านการไม่สูบหรือสูดควันบุหรี่ (
= 4.75, SD = .90) สถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การรับรู้ความเชื่อทางด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ.2ส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.26, p < .01) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. (r= .30 , p<.01) แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.29, p<.01)
References
กรมการปกครอง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561, 31 ธันวาคม ). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. ระบบสถิติการลงทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153_0.pdf
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษริน อุบลวงศ์ และนัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 33(2), 14-24.
ขวัญดาว กลั่นรัตน์, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, ภัทรพล มหาขันธ์, และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยลัยราชภัฎมหาสารคาม, 7(3), 93-104.
จารุวรรณ พุ่มวิเศษ. (2557). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2โรงพยาบาลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์, 8(1), 89-100.
ชวลิต สวัสดิ์ผล. (2560). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, และนิลาวรรณ งามขำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน, 8(1), 103-117.
เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุศราคัม สิงห์ชัย, และวิวัฒน์ วรวงษ์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(6), 749-758.
ประไพพิศ สิงหเสม , พอเพ็ญ ไกรนรา และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรติดถ์, 11(1), 37-42.
ภัคจิรา ภูสมศรี, ดวงรัตน์ สว่างรัม, และสุณิสา ลิเครือ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล ตำบลหนองซ้ำซาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 228-230.
มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนบ้านท่าข้องเหล็ก หมู่ที่ 9 จังหวัดอุบลราชธานีใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. “ การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน. 26-27 กรกฎาคม 2560 หน้า 933-944.
ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย, 11(2), 367-387.
รัตนา มูลนางเดียว. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(3), 97-114.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCDคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
สุรพล อริยะเดชา. (2555). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของข้าราชการอำเภอปลอกแดง จังหวัดระยอง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 29(3), 205-216.
อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ผจงศิลป์ เพิงมาก, และจุฑามาศ ทองตำลึง. (2554) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทองในตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(1), 47-60.
อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์, นพวรรณ เปียซื่อ, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(8), 58-69.
Fenfen Li, et al. (2019) The Association between Health Beliefs and Fall-Related Behaviors and Its Implication for Fall Intervention among Chinese Elderly. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16, 4774-4788.
Cohen, J. (1988) Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences( 2nded.). Hillsdale, New jersey : Erlbaum.
Cohen, J. (1992) Quantitative Method in Psychology : A Power Primer. Psychological Bulletin, 112 (1), 155-159.
Janz, N. K., & Becker, M. H. (1984). The health belief model: A decade later. Health education quarterly, 11(1), 1-47.
Patterson, N. M., Bates, B. R., Chadwick, A. E., Nieto-Sanchez, C., & Grijalva, M. J. (2018). Using the health belief model to identify communication opportunities to prevent Chagas disease in Southern Ecuador. PLoS neglected tropical diseases, 12(9), e0006841.
United Nation, Department of Economic and social Affairs, Population Division. (2015) World Population Prospects : The 2015 Revision, United Nations: New York, pp. 30.