คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไต: การศึกษาเปรียบเทียบ
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การล้างไตทางช่องท้องบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไต:การศึกษาเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและล้างไตทางช่องท้องที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ จำนวน 50 คนและ 40 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางคลินิก และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในโรคไต มีค่าความเชื่อมั่น .90 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Multiple regression analysis, t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องมีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง มีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน เมื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยจำแนกตามเพศและสถานภาพสมรส พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่มีเพศแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตด้านกายภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พบว่า อายุ ระดับอัลบูมินในเลือด และความเพียงพอในการฟอกเลือดสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตด้านกายภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของคุณภาพชีวิตด้านกายภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ร้อยละ 42 (R2 = 0.42) ในขณะที่ตัวแปรดังกล่าวไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมและรายด้านอื่น ๆ
References
กมลรัตน์ บัญญัตินพรัตน์ และศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย. (2560). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(1), 2-9.
ขนิษฐา หอมจีน, และพรรณทิพา ศักดิ์ทอง. (2553). การแปลและทดสอบกระบวนการคิดของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในโรคไตฉบับย่อภาษาไทยเวอร์ชัน 1.3. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2(1), 3-13.
คณะอนุกรรมการการลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไต (TRT) (2015). Thailand renal replacement therapy 2015. Retrieved from http://www.nephrothai.org/images/Final_TRT_report_2015_30-3-61.pdf
จำรัส สาระขวัญ, สุนทรี สิทธิสงคราม, มาลินี บุญเกิด, สุกัญญา กระเบียด, และมาลี มีแป้น. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 153-164.
ธารินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ: บริษัท วี อินเตอร์ พรินท์จำกัด.
ธงชัย ผลดี และอมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 8(2), 19-30.
นลิตา เหลาแหลม, พรมมินทร์ ไกรยสินธุ์, วัชรียา ปาละกุล, อภิรดา ฉิมพาลี, กัตติกา หาลือและวีระพล จันทร์ดียิ่ง. (2557). ประเมินคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ป่วยฟอกเลือดล้างไตและล้างไตทางช่องท้อง ณ โรงพยาบาลพะเยา. วารสารนเรศวรพะเยา, 7(2), 172-177.
รุ้งลาวัลย์ ยี่สุ่นแก้ว, สุรชาติ ณ หนองคาย, ชัยรัตน์ ฉายากุล, และดุสิต สุจิรารัตน์. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วชิรสารการพยาบาล, 18(1), 79-88.
สมพร ชินโนรส และชุติมา ดีปัญญา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 5(2), 54-67.
อรวมน ศรียุกตศุทธ, นพพร ว่องศิริมาศ, ณัฎยา ประหา, และประพัฒน์สินี ประไพวงษ์. (2017). คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบ. Journal of Nursing Science, 35(1), 72-84.
อุทุมพร ขำคม, นันทิยา วัฒายุ, และดวงใจ รัตนธัญญา. (2015). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองแบบต่อเนื่อง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(2), 60-70.
Al-Baghdadi, D. D. H., & Rajha, A. (2018). Quality of life for hemodialysis patients with chronic renal failure. Research Journal of Pharmacology and Technology, 11(6), 2398- 2403. doi: 10.5958/0974-360X.2018.00443.2
Fructuosa, M., Castro, R., Olivera, L., Prata, C., & Margado, T. (2011). Quality of life in chronic kidney disease. Nefrologia, 31(1), 91-96. Retrieved from https://www.revistanefrologia.com/en-quality-life-in-chronickidney-articulo-X2013251411051195
Hosny, G., Kamil, L.A., & Foda, N. (2017). Assessment of quality of life for hemodialysis patients in Irag. International Journal of Environmental Science and Toxicology Research, 5(1), 10-22.
Liebman, S., Li, N., & Lacson, E. (2016). Change in quality of life and one-year mortality risk in maintenance dialysis patients. Quality Life Research, 16(25), 2295-2306.
Malekmakan, L., Roozleh, J., Zonnoor, S.L., Azadian, F., Sayadi, M., & Tadayoni, A. (2016). The comparison of quality of life among peritoneal and hemodialysis patients. International Journal of Medical Research, 5(4), 127-132.
Wakeel, J.A., Harbi, J., Zonnoor, A.A., Bayoumi, M., Al-Suwaida, K., & Mishkiry, A. (2012). Quality of life in hemodialysis and peritoneal dialysis patients in Saudi Arabia. Annals of Saudi Medicine, 32(6), 570-574.
Wassef, O.M., El-Gendy, M.F., El-Anwar, R.M., El-Taher, S.M., & Hani, B.M. (2018). Assessment of health-related quality of life of hemodialysis patients in Benha City. Qalyubia Governorate, 31(4), 1414-1421.