ผลของโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Main Article Content

กานดา วรคุณพิเศษ
ิริพันธุ์ สาสัตย์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัด
สิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแล
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มารับบริการ
ที่สถาบันประสาทวิทยา จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน
จัดให้สองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาการดูแลในผู้สูงอายุที่มี
ภาวะสมองเสื่อม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนิน
การวิจัย คือ โปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า
และนำมาหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ
แบบประเมินภาวะเครียดในผู้ดูแล และหาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค
เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
ทดสอบค่าที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อม
ที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้ามีภาวะเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่
บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้ามีภาวะเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาล
ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effect of Home Environmental Arrangement and
Progressive Muscle Relaxation Program on Stress in
Caregivers of Older People with Dementia

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of home environment arrangement and progressive muscle relaxation program on stress in caregivers of older people with dementia. The participants consisted of 40 caregivers of older people with dementia at Prasat Neurological Institute and were divided into the experimental group and the control group with 20 people in each group. Both groups had similar characteristics in gender, age and length of time in caring. The experimental group received the home environment arrangement and progressive muscle relaxation programs and the control group received conventional nursing care. The experimental instrument was home environment arrangement and progressive muscle relaxation program with content validity test. The collected data instrument was Caregiver Strain Index (CSI) and was tested for reliability with Cronbach Alpha at .81. Research findings were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test. The major findings were as follows: 1. The experimental group after receiving the home environment arrangement and progressive muscle relaxation program had significantly lower stress than before receiving the program at the statistically significant level of .05 2. The experimental group after receiving the home environment arrangement and progressive muscle relaxation program had significantly lower stress than those who received conventional nursing care at the level of .05

Article Details

How to Cite
วรคุณพิเศษ ก., & สาสัตย์ ิ. (2016). ผลของโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. Kuakarun Journal of Nursing, 22(1), 82–97. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/46855
Section
Research Articles