ผลการแก้หมันหญิงแบบจุลศัลยกรรมเปิดแผลเล็กเหนือหัวหน่าว ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่(The result of tubal reversal by microsurgical suprapubic minilaparotomy in the Health promoting hospital, region1, Chiangmai, Thailand)

Authors

  • ทองทวี ศุภาคม
  • กันยา สลิดแก้ว
  • นงนุช วุฒิปรีชา
  • สีนวล ทาแฮ
  • บังอร เชาวนพูนผล

Keywords:

ช่วยการเจริญพันธุ์, แก้หมันหญิง, การตั้งครรภ์/Assisted reproduction, Tubal reversal, Pregnancy

Abstract

บทคัดย่อ

            วิธีคุมกำเนิดที่เป็นที่นิยมในภาคเหนือคือการทำหมันหญิง หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพสมรส  สตรีที่เคยทำหมันส่วนหนึ่งแสดงความประสงค์ขอแก้หมันหญิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงที่มีศักยภาพในการแก้หมันหญิง ได้ดำเนินการช่วยการเจริญพันธุ์แก่คู่สมรสที่เคยผ่านการทำหมันหญิงและต้องการมีบุตร ตั้งแต่ปี 2550-2558 มีผู้มารับบริการจำนวน 59 คน อายุเฉลี่ย 34.75+5.04  ปี ติดตามผลไม่ได้ 17 คน พบมีผู้รับบริการหลังแก้หมันตั้งครรภ์จำนวน 27 คน (64.29%)  คิดเป็นการตั้งครรภ์รวม 45.76% พบว่าสาเหตุของการขอแก้หมันหญิงที่มากที่สุด คือ การแต่งงานใหม่ (93.1%) โดยส่วนใหญ่พบว่า 94.83% ของผู้รับบริการเคยทำหมันแบบหลังคลอดมาก่อน พบว่า 42.6% ของตำแหน่งที่เคยทำหมันอยู่บริเวณท่อนำไข่ส่วนแอมพูลล่า ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดเฉลี่ยในกลุ่มที่ตั้งครรภ์และกลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (97.81+ 36.13 และ 88.60 + 32.15 นาที, p = 0.4188) กลุ่มอายุ 31-35 ปี เป็นกลุ่มที่พบมีการตั้งครรภ์มากที่สุด (68.18%) รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 20-30 ปี (55.56%)  ผู้รับบริการทุกคนมีความพึงพอใจต่อแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก และระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาล คะแนนอาการเจ็บแผลในวันที่ 1 หลังผ่าตัดอยู่ในระดับคะแนน 4.08+1.34 การให้ยาแก้ปวดแบบฉีดหลังผ่าตัดเท่ากับ 0.58% 

 

Abstract                                                            

       One of the common methods of contraception in the northern part of Thailand is tubal sterilization. After changing of marital status, some of the women who had previous tubal sterilization change their decision to reverse the tubal ligation. The Health promoting hospital region 1 is a 60 bed size hospital that has the facilities to perform a tubal reversal. There were 59 patients requested for this procedure during 2007-2015 in the Health Promoting Hospital, region 1. Their average age was 34.75+5.04 yr. The percentage of loss follow up was 28.81 %. Total number of pregnancy after tubal reversal was 27(64.29%). The crude pregnancy rate was 45.76%. Most of them (94.83%) had performed tubal sterilization during period of postpartum. The main site of tubal scar is on ampulla part (42.6%).    Average surgical time in pregnant and non-pregnant group was not statistically different (97.81+ 36.13 vs 88.60 + 32.15 min, p = 0.4188).  The age group of 31-35 yr. had the highest percentage of total pregnancy (68.18%). The second rank was on the age group 20-30 yr. (55.56%). All of them were satisfied with the small incision on supra-pubic area and admission time. Average pain score after 1 day of surgery was 4.08+1.34. Requirement of analgesic drug injection was 0.58%.

Downloads

Published

2017-08-28

How to Cite

1.
ศุภาคม ท, สลิดแก้ว ก, วุฒิปรีชา น, ทาแฮ ส, เชาวนพูนผล บ. ผลการแก้หมันหญิงแบบจุลศัลยกรรมเปิดแผลเล็กเหนือหัวหน่าว ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่(The result of tubal reversal by microsurgical suprapubic minilaparotomy in the Health promoting hospital, region1, Chiangmai, Thailand). J Med Health Sci [Internet]. 2017 Aug. 28 [cited 2024 Nov. 23];24(2):39-47. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/97379

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)