หญ้าหนวดแมวเพื่อประโยชน์ในการขับปัสสาวะ/ Application of Orthosiphon stamineus for diuretic effect

Authors

  • Janpen Tangjitjareonkun
  • Waraporn Yahayo
  • Roongtawan Supabphol

Keywords:

หญ้าหนวดแมว การขับปัสสาวะ การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ/ Orthosiphon stamineus, diuretic effect, antioxidation, antibateria, urinary tract infection

Abstract

บทคัดย่อ

            ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหญ้าหนวดแมวที่กล่าวถึงกันมากคือฤทธิ์ขับปัสสาวะที่ผ่านทางตัวรับของ adenosine   ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะหดตัว   แต่กล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะคลายตัวจึงเอื้อต่อการขับปัสสาวะ   หลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยในการนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคที่มีโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น (1) ความดันโลหิตสูง; ทำให้ความดันโลหิตลดลง  และลดภาวะหลอดเลือดหดรัด (2) การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ; โดยสามารถช่วยลดการอักเสบ  ปวด  ไข้  รวมทั้งป้องกันมิให้เชื้อเกาะติดเนื้อเยื่อระบบทางเดินปัสสาวะ (3) เบาหวาน; ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลงเพราะยับยั้ง a-glucosidase และ a-amylase   รวมทั้งลดพิษจากการได้รับกลูโคสขนาดสูง (4) นิ่ว; ช่วยขับกรดยูริกออกจากกระแสเลือด   ลดการเกิดนิ่วจากกรดยูริกได้   และลดการบาดเจ็บในไตที่เกิดจากนิ่ว calcium oxalate   (5) มะเร็ง; หญ้าหนวดแมวเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิดและลดการสร้างหลอดเลือดใหม่มิให้งอกไปเลี้ยงก้อนเนื้อมะเร็ง จึงให้ผลดีในการร่วมรักษามะเร็งได้ (6) ท่อปัสสาวะตีบแคบ; ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบของท่อปัสสาวะคลายตัว   การขับปัสสาวะก็จะสะดวกยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมจะเห็นว่ามีหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนกลไกการขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมว   รวมทั้งสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างอื่นได้อย่างปลอดภัย  นอกจากปลอดภัยแล้วตำรายาโบราณยังนำหญ้าหนวดแมวมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วได้อีกด้วย จึงนับเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากสมุนไพรที่สามารถผลิตขึ้นได้เองภายในประเทศ

 

Abstract

            The most common pharmacological effect of Orthosiphon stamineus predominantly mentioned is a diuretic effect via adenosine receptor leading to the contraction of urinary bladder muscle and relaxation of urethral muscle.  Evidence show its safe application in some diseases (1) hypertension;  decrease blood pressure and vasoconstriction (2) urinary tract infection; antiinflammatory analgesia antipyretics  and antiadhesive activity against uropathognic Escherichia coli to uroepithelial tissue  (3) diabetic mellitus;  decrease blood glucose due to the a-glucosidase and a-amylase inhibition, and decrease glucotoxicity   (4) urolithiasis;  increase uric acid excretion, decrease the risk of uric stone formation and kidney injury from calcium oxalate   (5) cancer; cytotoxic to many cancer cells and decrease angiogenesis to cancer mass   (6) urethral constriction; relaxation of urethral smooth muscle to facilitate urination.   Evidence supports the use of Orthosiphon stamineus for diuretic effect and safety for other diseases.  That was the reason that traditional medicine mentioned about the application for other diseases.  It is worth to consume medicinal plants grown and manufactured in Thailand.

Downloads

How to Cite

1.
Tangjitjareonkun J, Yahayo W, Supabphol R. หญ้าหนวดแมวเพื่อประโยชน์ในการขับปัสสาวะ/ Application of Orthosiphon stamineus for diuretic effect. J Med Health Sci [Internet]. 2017 May 17 [cited 2024 Dec. 19];24(1):67-78. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/86624

Issue

Section

Review article (บทความวิชาการ)