การจัดโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร/Alcohol drinking prevention program management for lower secondary school female students in Bangkok

Authors

  • Pannawit Piyaaramwong
  • Rungrawee Samawathdana
  • Aim-utcha Wattanaburanon

Keywords:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกัน, แอลกอฮอล์/ health belief model, prevention, alcohol

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2557  ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  1 กรุงเทพมหานคร  จำนวนทั้งหมด  48 คน  กลุ่มทดลอง (23 คน) ได้รับโปรแกรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยนำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  (Health Belief Model) มาประยุกต์ใช้  เป็นเวลา  4  สัปดาห์  ประกอบด้วย  กิจกรรมการเรียนรู้  กิจกรรมแนะแนวสุขภาพ  กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  และกลุ่มเปรียบเทียบ (25 คน) ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาปกติ  โดยทำการวัดการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การรับรู้ความรุนแรงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การรับรู้ประโยชน์ของการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าที  (t-test)   ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดสอบ  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การรับรู้ความรุนแรงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การรับรู้ประโยชน์ของการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  สูงกว่าก่อนการทดสอบ  และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Abstract

This quasi-experimental research aimed to study the effects of an alcohol drinking prevention program in lower secondary school female students in Bangkok. The sample was 48 female secondary school students under the Secondary Educational Service Area Office One, Bangkok. The experimental group (23) received the alcohol drinking prevention program which applied from Health Belief Model for 4 weeks. The program was composed of learning activities, health guidance and campaign activities for alcohol drinking prevention. The comparison group (25) received regular health education instruction by their school. The instrument used to collect data was a self-administered questionnaire. Statistical analysis was performed using frequency, percentage, mean scores, standard deviation and t-test. The results showed that after all the activities, the mean scores of perceived susceptibility of drinking alcohol, the severity of drinking alcohol, the benefits of not drinking alcohol  and the barriers of preventing from drinking alcohol of the experimental group,  were statistically significant higher than before experiment, and the comparison group at a level of 0.05.  

Downloads

How to Cite

1.
Piyaaramwong P, Samawathdana R, Wattanaburanon A- utcha. การจัดโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร/Alcohol drinking prevention program management for lower secondary school female students in Bangkok. J Med Health Sci [Internet]. 2017 May 17 [cited 2024 Dec. 19];24(1):55-66. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/86622

Issue

Section

Original article (บทความวิจัย)