การสะท้อนคิดและแผนผังความคิดกับทักษะ การแก้ปัญหาของนิสิตพยาบาล/Reflective thinking and mind mapping on problem-solving skills of nursing students
Keywords:
วงจรการสะท้อนคิด การสะท้อนคิดประจำวัน การศึกษาพยาบาล / reflective thinking cycle, diaries reflection nursing, nurse educationAbstract
บทคัดย่อ
การปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยของนิสิตพยาบาลต้องใช้ทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม มีนิสิตพยาบาลจำนวนมากที่ไม่สามารถตัดสินใจปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ความรู้ทางทฤษฎีได้
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนโดยใช้การบันทึกสะท้อนคิดประจำวันต่อทักษะการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนิสิตพยาบาลชั้นปี 4 ที่เรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและการผดุงครรภ์ 2 ปีการศึกษา 2555 โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 102 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 51 คน ในแต่ละวันทั้งสองกลุ่มได้รับมอบหมายให้มีการวางแผนการพยาบาลในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีประชุมปรึกษาก่อนและหลังการปฏิบัติงานและมีการเขียนรายงานกรณีศึกษา แต่ในกลุ่มทดลองมีกิจกรรมเพิ่มคือการเขียนบันทึกสะท้อนคิดและแผนผังความคิดในสมุดจดประจำวันตามแบบวงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ภายในกลุ่มทดลองหลังการทดสอบมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการวิเคราะห์ความคิดและความรู้สึก ด้านการอธิบายสถานการณ์และด้านการพัฒนาเชิงวิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยเฉพาะด้านการอธิบายสถานการณ์เท่านั้นที่สูงขึ้น (p<0.05) จากการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่ม ทดลองพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการ วิเคราะห์ความคิดและความรู้สึก และด้านการพัฒนาเชิงวิชาชีพสูงกว่ากลุ่มควบคุม ความคิดเห็นของกลุ่มทดลอง ต่อกิจกรรมการสะท้อนคิดที่มีคะแนนสูงสุดคือ การเรียน ซึ่งช่วยให้เข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงเนื้อหาได้ดีขึ้น
Abstract
Nursing practice in clinical situation of nursing students must be used problem-solving
skills. However, many students could not use basic knowledge to make decision on nursing care. This research aims to study the effects of learning by reflective thinking diaries on problemsolving nursing skills. The samples included 102 of fourth year nursing students, with fifty-one members in each group. Both groups were assigned the task of planning for daily nursing care for high risk pregnant women and writing case study reports. The experimental group was established by writing Gibbs’ reflective thinking cycle and mind maps diaries. The results showed that the abilities of analysis of thoughts and feelings, situation description, and develop professional practice skills within experimental group increased significantly, while the control group increased only their ability to describe situations (p<0.05). The problem-solving skills among control and experimental groups was significantly difference (p<0.05). There were significant differences in analyzing thoughts and feelings, and ability in develop professional practice. The opinion of reflective activities highest scores is learning helped to gain more understanding and association between theory and practice. The findings indicate that students had improved nursing competency by learning reflective thinking and helped them in decision making on nursing care.