Traffic injury in northern Thailand in 2011-2013: A cross sectional survey อุบัติเหตุจราจรในภาคเหนือของประเทศไทย ปี 2554-2556: การศึกษาภาคตัดขวาง
Keywords:
epidemiology, traffic injury, northern Thailand ระบาดวิทยา อุบัติเหตุจราจร ภาคเหนือประเทศไทยAbstract
Abstract
Thailand has been facing traffic injuries problem leads to spending large amounts of money on medical and public health resources every year. A cross-sectional study design aimed to explain the characteristics of traffic injury in northern Thailand during 2011-2013. Subjects were recruited from 8 hospitals and 7 police stations from northern Thailand. Data regarding to age, sex, religion, marital status, year of getting injury, time of getting injury, type of vehicles, alcohol used, hospital admission, medical cost, treatment outcomes, and favorite areas of injury occurrences were collected. Totally 35,925 cases were reported between 2011 and 2013 from eight hospitals in northern Thailand. The majority age was 16-25 years old (28.0%), followed by 26-35 years old (17.4%). The peak period of traffic injuries occurred in two episodes; December to January (32.8%), and April to May (36.7%). The major vehicle was motorcycle (78.9%), and followed by car and truck (21.1%). 29.3% had been admitted in a hospital, and 82.3% were admitted at a hospital less than 7 days, and 82.0% were having a medical cost ≤ 5,000 baht. Regarding data from seven police stations: 2,339 cases were collected for the analysis. 71.4% were males, 27.6% were aged 16-25 years old, 60.9% were married, 92.0% were Buddhists. The main type of vehicle was a car (56.6%), 67.3% had their injury on the highways, 60.7% had injury during the daytime (06.00 am.- 06.00 pm.), and 13.1% drank alcohol. There was no information linking system between a hospital and a police station. Thailand needs effective and specific health promoting programs for reducing the traffic accident particularly in young adults (16-25 years old) populations.
บทคัดย่อ
ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาอุบัติเหตุจราจรและส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
จำนวนมากในแต่ละปี การศึกษาภาคตัดขวางเพื่ออธิบายลักษณะการเกิดอุบัติเหตุจราจรในภาคเหนือประเทศไทย ช่วงปี
พ.ศ. 2554-2556 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจาก 8 โรงพยาบาล และ 7 สถานีตำรวจ ในภาคเหนือประเทศไทย โดยรวบรวม ข้อมูลทางด้านอายุ เพศ ศาสนา สถานภาพครอบครัว ปีและช่วงเวลาที่ได้รับอุบัติเหตุ ชนิดของยานพาหนะ การดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ การได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ผลการรักษา และพื้นที่เกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 35,925 ราย ผู้ได้รับอุบัติเหตุในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง 2556 จาก 8 โรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 16-25 ปี (ร้อยละ 28) และอายุ 26-35 ปี (ร้อยละ 17.4) ช่วงที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดมี 2 ช่วง คือ ช่วงเดือน ธันวาคม ถึงเดือน มกราคม (ร้อยละ 32.8) และ ช่วงเดือน เมษายน ถึงเดือน พฤษภาคม (ร้อยละ 36.7) ยานพาหนะหลักที่เกิดอุบัติเหตุคือ จักรยานยนต์ (ร้อยละ 78.9) และ รถยนต์และรถบรรทุก (ร้อยละ 21.1) ร้อยละ 29.3 ของกลุ่มตัวอย่างเคยได้รับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในกลุ่ม ดังกล่าว ร้อยละ 82.3 ได้นอนรักษาในโรงพยาบาลต่ำกว่า 7 วัน ร้อยละ 82.0 มีค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่า 5,000 บาท ข้อมูลจากสถานีตำรวจ พบว่า มีจำนวน 2,339 ราย ที่สามารถทำการวิเคราะห์ได้ ร้อยละ 71.4 เป็นชาย ร้อยละ 27.6 มีอายุ 16-25 ปี ร้อยละ 60.9 มีสถานภาพสมรสแต่งงานแล้ว ร้อยละ 92.0 นับถือศาสนาพุทธ ยานพาหนะหลักที่ได้รับอุบัติเหตุ คือ รถยนต์ (ร้อยละ 56.6) ร้อยละ 67.3 ได้รับอุบัติเหตุบนถนนสายหลัก ร้อยละ 60.7 ได้รับอุบัติเหตุในช่วงกลางวัน (06.00 น. - 18.00 น.) ร้อยละ 13.1 ขับรถขณะมึนเมา ประเทศไทยไม่มีระบบข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันระหว่างฐานข้อมูล
ของโรงพยาบาลและสถานีตำรวจ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพื่อลด
อัตราการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน (อายุ 16-25 ปี)