ผลของกระเทียมต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดในเบาหวาน

Authors

  • พัชรินทร์ เทพอารีนันท์

Keywords:

กระเทียม, หัวใจ, หลอดเลือด, เบาหวาน

Abstract

กระเทียม (Allium sativum ) เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคกันอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานกว่า 5,000 ปี มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลของกระเทียมต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดในเบาหวาน เนื่องจากพบว่าโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายและความพิการสูงมากในผู้ป่วยเบาหวานจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ากระเทียมสามารถลดน้ำตาลในเลือด, ลดความดันโลหิต, ยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด, เพิ่มการละลายลิ่มเลือด และลดไขมันในพลาสมา นอกจากนี้กระเทียมยังสามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จากคุณสมบัติของกระเทียมดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่ากระเทียมสามารถป้องกันและลดความผิดปกติในการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดในเบาหวานได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์และสารที่ออกฤทธิ์ในกระเทียมยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งน่าจะมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อที่จะสามารถนำกระเทียมมาใช้สำหรับป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและหลอดเลือดในเบาหวานได้ Garlic (Allium sativum ) has been used in folk medicine in most cultures for more than 5,000 years. The pharmacological effects of garlic on cardiovascular functions have been widely studied in diabetes. Because several studies found that cardiovascular complications account for much of the morbidity and mortality of diabetic patients. Moreover, the results of numerous studies show that garlic can reduce blood glucose and blood pressure, inhibit platelet aggregation, enhance fibrinolytic activity and reduce plasma lipid. In addition,garlic can also inhibit an oxidation reaction. These effects indicate that garlic may prevent and attenuate the cardiovascular dysfunctions in diabetes. However the mechanisms and active ingredients of garlic remain uncertain. In the future, these might be a great interest. Therefore, garlic mifht be a therepeutic tool in the prevention of diabetic cardiovascular complications.

Downloads

How to Cite

1.
เทพอารีนันท์ พ. ผลของกระเทียมต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดในเบาหวาน. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Sep. 10 [cited 2024 Mar. 28];5(1). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61786

Issue

Section

Review Article (บทความวิชาการ)