การเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่างแพทย์กับบุคลากรอื่นของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
Keywords:
ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพAbstract
อาชีพแพทย์มีความเสี่ยงสูงต่อความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีเวลาในการดูแลรักษาตัวเองน้อย อย่างไรก็ตามแพทย์ก็ยังมีความรู้ในการดูแลสุขภาพมากกว่าอาชีพอื่นจึงน่าจะเป็นแบบอย่างในการดูแลสุขภาพแก่บุคลากรได้ จึงทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพระหว่างแพทย์กับบุคลากรอื่น ๆ ของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้แก่ การเข้าถึง บริการสาธารณสุข การตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มแพทย์และกลุ่มบุคลากรอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ซึ่งทั้งสองกลุ่มทำงานอยู่ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ โดยใช้แบบสอบถามประเภท Behavioral risk factor surveillance system นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเปรียบเทียบกลุ่มแพทย์กับกลุ่มบุคลากรอื่นโดยใช้ Chi square test ที่ p value < 0.05 ซึ่งผลการศึกษาพบว่าแพทย์มีโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากกว่าบุคลากรอื่น แต่ใช้บริการสาธารณสุขในการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังไม่แตกต่างจากบุคลากรอื่นตามเกณฑ์อายุที่มาตรฐานกำหนดไว้ และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากบุคลากรอื่น นอกจากการคาดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับรถซึ่งแพทย์จะคาดทุกครั้งที่ขับรถมากกว่าบุคลากรอื่น ส่วนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งนั้น แพทย์หญิงจะตรวจเต้านมด้วยตนเองมากกว่าบุคลากรอื่น แต่การตรวจ Pap smear ในแพทย์หญิงที่แต่งงานแล้วยังมีน้อยเกินไป สำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอื่น ๆ นั้นกลุ่มตัวอย่างมีปริมาณน้อยมากจนไม่ สามารถแปลผลได้ Doctors have high risks to physical and mental illness. They have a few times to take care themselves but they have knowledge in health care more than other personnel. So, doctors might be model for health promotion. This study is about comparable health risk factors between doctors and other personnel in topics: health care access, chronic disease screening, behavioral risk factors and cancer screening. Data is collected from doctors and other personnel from HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Ongkharak district, Nakorn-nayok province by using behavioral risk factor surveillance system questionnaires and analyzed by Chi square test at p value <0.05. Conclusion is that doctors have opportunity to health care access more than other personnel but chronic disease screening and behavior risk factors do not significantly difference from other personnel except doctors use safety belt more than other personnel. Addition to cancer screening, female doctors have digital breast examination more than other personnel but married female doctors have Pap smear less than others. For other cancer screening, the sample size is too small to evaluate.Downloads
How to Cite
1.
คงสมบูรณ์ ก. การเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่างแพทย์กับบุคลากรอื่นของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Oct. 8 [cited 2024 Dec. 20];12(3). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61334
Issue
Section
Original article (บทความวิจัย)