ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • วันเพ็ญ รักษ์ปวงชน
  • ชฎาภรณ์ วัฒนวิไล
  • ศศิธร วรรณพงษ์
  • จารุวรรณ ริ้วไพบูลย์

Keywords:

การประเมินหลักสูตร, พยาบาลศาสตรบัณฑิต

Abstract

การประเมินหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการและกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร คุณภาพการจัดการเรียนการสอนและเปรียบเทียบคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตตามการประเมินตนเอง ผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามรูปแบบการประเมินผลการศึกษาแบบ CIPP (Context-Input-Process-Product) Model กลุ่มตัวอย่างคือผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเมื่อปีการศึกษา 2546 ซึ่งทำงานแล้วเป็นเวลา 6-8 เดือน จำนวน 43 คน ผู้ร่วมงาน 3 คนและผู้บังคับบัญชา 2 คนต่อผู้สำเร็จการศึกษา 1 คน ได้จำนวนผู้ร่วมงาน 129 คนและผู้บังคับบัญชา จำนวน 86 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้สำเร็จการศึกษารับรู้ต่อการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพรายวิชา สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้อยู่ในระดับมาก (x= 4.15) ปัจจัยเกื้อหนุนมีความเหมาะสมระดับมาก (x= 3.68) คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษามีการประเมินตนเองอยู่ในระดับมาก (x= 4.27) สูงกว่าผู้ร่วมงาน (x= 3.91) และผู้บังคับบัญชา (x= 3.67) ซึ่งอยู่ในระดับมากเช่นกัน เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทักษะการปฏิบัติงานที่พบว่ามีคุณภาพน้อยที่สุดคือ การวิจัย การบริหารงานและการเป็นผู้นำ ผลการศึกษานี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการปรับปรุงหลักสูตรการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมต่อไป The curriculum evaluation plays an important role in substantive of the curriculum development and quality assurance incorporate with social need and change. This study aimed to survey the graduates’ opinion of curriculum suitability and quality of teaching and learning process. The comparison of graduates’ performance by self-evaluation, colleague evaluation and supervisor evaluation were investigated as well. The research applied the CIPP (Context-Input-Process-Product) Model as a conceptual framework to develop the questionnaire. The sample consisted of 43 graduates of Bachelor of Nursing Science who graduated in the year of 2003 from Srinakharinwirot University and had 6-8 months of work experience, 129 colleagues and 86 supervisors. The study found the high level (x=4.15) of perception of teaching and learning process and quality of course could help the graduates to achieve the objective of curriculum. In addition, the study revealed the high level (x=3.68) of supportive factor, high level of the performance qualification among self-evaluation (x=4.27), colleague evaluation (x=3.91) and supervisor evaluation (x=3.67). Of the performance qualification, self-evaluation was higher than colleague and supervisor evaluation but not significantly difference. However, the study found the lower skills of research, administration and leadership. The findings of this study are significant as they highlight issues that need to be considered to improve nursing curriculum to achieve the goal and serve the need of the society.

Downloads

How to Cite

1.
รักษ์ปวงชน ว, วัฒนวิไล ช, วรรณพงษ์ ศ, ริ้วไพบูลย์ จ. ผลการประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Oct. 9 [cited 2024 Apr. 20];13(1). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61328