ภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามภาวะโภชนาการ กลุ่มอายุ และเพศ : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง

Authors

  • กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์
  • สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร
  • สะการะ หัศภาดล
  • นัฎกานต์ วงศ์จิตรัตน์

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน, ดัชนีมวลกาย, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

ภาวะซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญที่ให้การวินิจฉัยค่อนข้างยาก เด็กอาจจะแสดงอาการได้หลายอย่าง ได้แก่ ปัญหาทางพฤติกรรม ปัญหาการเรียน ปัญหาทางเพศ และอาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งภาวะซึมเศร้านี้มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (Overweight) เพศ และเชื้อชาติ สำหรับการวินิจฉัยภาวะโภชนาการเกินนั้นใช้การคำนวณดัชนีมวลกายหรือ Body mass index (BMI) เปรียบเทียบกับ BMI for age ของ Centers for Disease Control and Prevention, USA. (CDC) โดยกำหนดภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ของ World Health Organization (WHO) การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อายุระหว่าง 12-18 ปีจำนวนทั้งสิ้น 1,647 คน โดยเก็บข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง และนักเรียนทุกคนจะต้องทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็กฉบับภาษาไทย ของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าตาม BMI for age ระหว่างเพศ และระหว่างกลุ่มอายุโดยใช้ Chi-square test ที่ p value < 0.05 ด้วยโปรแกรม STATA version 6 ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะซึมเศร้าในเด็กนักเรียนกลุ่มนี้มีร้อยละ 33 เป็นเพศชายร้อยละ 38 และเพศหญิงร้อยละ 31 เมื่อแยกวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุในเพศชายกลุ่มอายุ 12-15 ปีมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละมาก กว่าเพศหญิงในกลุ่มอายุเดียวกัน และเพศชายกลุ่ม Overweight มีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เพศชายมีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศหญิงโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 12–15 ปีและในกลุ่ม Overweight ควรศึกษาเชิงวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในกลุ่ม Overweight เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น และศึกษาปัจจัยที่ทำให้เด็กนักเรียนชายในอำเภอองครักษ์มีภาวะซึมเศร้ามากกว่าเด็กนักเรียนหญิง

Downloads

Published

2008-12-09

How to Cite

1.
คงสมบูรณ์ ก, จันทร์สกุลพร ส, หัศภาดล ส, วงศ์จิตรัตน์ น. ภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามภาวะโภชนาการ กลุ่มอายุ และเพศ : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Dec. 9 [cited 2024 Apr. 25];13(2). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61323