การดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของโรงพยาบาลภาครัฐในประเทศไทย พ.ศ.2547
Keywords:
การดำเนินงานอาชีวอนามัย, บุคลากรทางการแพทย์, การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลของโรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศ โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงพฤศจิกายน 2547 จากการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงผู้รับผิดชอบการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาล จำนวน 515 แห่ง จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงพยาบาลมีอัตราการตอบกลับร้อยละ 81.4 พบว่าโรงพยาบาลทุกแห่งมีการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ มีขนาดน้อยกว่า 120 เตียง และเข้าร่วมการรับรองมาตรฐานหรือคุณภาพ ไม่มีการแยกหน่วยงานอาชีวอนามัยออกเป็นอิสระ ทีมงานด้านอาชีวอนามัยประกอบด้วยพยาบาลหรือนักวิชาการ โดยมากกว่าร้อยละ 50 ไม่มีความรู้และไม่มีเครื่องมือด้านอาชีวอนามัย ข้อมูลการจัดบริการ อาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาล จากการประเมินใน 5 ระดับ พบว่าภาพรวมการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลอยู่ในระดับต่ำโดยพบคะแนนระดับความพร้อมในการจัดบริการอาชีวอนามัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการจัดองค์กร ด้านบุคลากร ด้านนโยบายและด้านทรัพยากรมากกว่าร้อยละ 60 มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านการจัดองค์กรมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (2.27) ขณะที่ด้านบุคลากรมีคะแนนเฉลี่ย ต่ำสุด (1.93) นอกจากนั้น พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ 1) ปัจจัยด้านหน่วยงานได้แก่ ระดับบริการโรงพยาบาล ขนาดโรงพยาบาล การจัดทำมาตรฐานหรือคุณภาพ การแยกหน่วยงานอาชีวอนามัยการมีเครื่องมืออาชีวอนามัย 2) ปัจจัยด้านทีมงาน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา การศึกษาหรือการอบรมด้านอาชีวอนามัย การรับผิดชอบงาน 3) ปัจจัยระดับความพร้อมในการจัดบริการอาชีวอนามัย ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านบุคลากร ด้านนโยบายและด้านทรัพยากร รวมทั้งพบว่า ปัจจัยที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานอาชีวอนามัย คือ ผู้บริหารกำหนดนโยบายและมีความร่วมมือจากบุคลากรโรงพยาบาล สำหรับปัญหาในการดำเนินงานที่สำคัญ คือ ขาดทีมงานที่มีความรู้ในการรับผิดชอบงานอย่างชัดเจน โดยโรงพยาบาลส่วนใหญ่เสนอแนะว่าควรมีการจัดองค์กร โครงสร้าง ทีมงานและคณะกรรมการในการดำเนินงาน กำหนดนโยบายและและมีการจัดหลักสูตรการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยสรุปการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลของโรงพยาบาลภาครัฐในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มีโอกาสในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาข้อกำหนดการดำเนินงานอาชีวอนามัยในการจัดทำมาตรฐานหรือคุณภาพโรงพยาบาลให้เกิดความชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้โรงพยาบาลเกิดการพัฒนาคุณภาพได้อย่างยั่งยืนDownloads
How to Cite
1.
จงจิตรไพศาล ว, บัณฑุกุล อ, สิทธิศรัณย์กุล พ. การดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรโรงพยาบาลตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของโรงพยาบาลภาครัฐในประเทศไทย พ.ศ.2547. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Dec. 11 [cited 2024 Dec. 20];13(3). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61315
Issue
Section
Original article (บทความวิจัย)