ปัญหาสุขภาพของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามเพศ และชั้นปีที่เรียน: การศึกษาภาคตัดขวาง
Keywords:
ปัญหาสุขภาพ, เด็กนักเรียนAbstract
ปัญหาสุขภาพมีผลกระทบกับตัวเด็กนักเรียนรอบด้านโดยเฉพาะพัฒนาการของเด็ก เป็นผลให้การเรียนแย่ลง อารมณ์เปลี่ยนแปลง เจ็บป่วยบ่อย และอัตราการเจริญเติบโตลดลงหรือหยุดชะงัก คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเพื่อหาความชุกของปัญหาสุขภาพ จัดลำดับความสำคัญ และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยตามเพศและชั้นปีที่เด็กเรียน การศึกษาเป็นแบบภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2547 ถึงกุมภาพันธ์ 2548 จากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาและเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อายุตั้งแต่ 6 ปีถึง 18 ปี จำนวน 7,428 คนจากทั้งหมดประมาณ 9,000 คน ข้อมูลประกอบด้วยชั้นปีที่เรียน อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ผลการตรวจ Visual acuity ด้วย Snellen’s chart ผลการตรวจการได้ยินด้วย portable audiometry ผลการตรวจช่องหูด้วย otoscopy พร้อมทั้งผลการตรวจร่างกายทั่วไปโดยกุมารแพทย์ ผลความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) และหมู่เลือดจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว คำนวณดัชนีมวลกายอ้างอิงตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก ผลการศึกษาพบว่าฟันผุเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดคือ 88.63% รองลงมาได้แก่ โรคหวัด (28.61%) น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (17.64%) โลหิตจาง (15.43%) เหา (14.68%) ขี้หูอุดตัน (12.08%) การได้ยินผิดปกติ (10.11%) และลิ้นติด (7.81%) ตามลำดับ นักเรียนชายจะพบฟันผุ หวัด น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน โลหิตจาง และลิ้นติดมากกว่านักเรียนหญิง ส่วนนักเรียนหญิงจะพบเหา ขี้หูอุดตัน และการได้ยินต่ำกว่ามาตรฐานมากกว่านักเรียนชาย เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นมีปัญหาสุขภาพมากกว่าเด็กนักเรียนชั้นอื่นจึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองสุขภาพในเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษDownloads
How to Cite
1.
คงสมบูรณ์ ก, จันทร์สกุลพร ส, วงศ์จิตรัตน์ น, หัศภาดล ส. ปัญหาสุขภาพของเด็กนักเรียนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เปรียบเทียบตามเพศ และชั้นปีที่เรียน: การศึกษาภาคตัดขวาง. J Med Health Sci [Internet]. 2008 Dec. 11 [cited 2024 Dec. 20];14(1). Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61310
Issue
Section
Original article (บทความวิจัย)